XINJIANG

เขตปกครองตนเองซินเจียง

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

  • เขตการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน เป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ
  • ทิศตะวันออกติดกับมณฑลกานสู และมณฑลชิงไห่
  • ทิศใต้ติดกับเขตปกครองตนเองทิเบต
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศมองโกเลีย
  • ทิศตะวันตกติดกับประเทศรัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน และทาจิกิสถาน
  • ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย

เขตปกครองตนเองซินเจียงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,660,000 ตร.กม. ซึ่งคิดเป็นพื้นที่หนึ่งในหกของพื้นที่ทั้งประเทศ เขตพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นคือ เป็นพื้นที่แอ่งกะทะและเทือกเขาสลับกัน ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะดังกล่าวเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขา

ทิศเหนือมีภูเขาอาร์เอ่อไท้ซาน และพื้นที่แอ่งกระทะจุนก๋าเอ๋อ ทิศใต้มีภูเขาคุนหลุน และพื้นที่แอ่งกระทะถาหลี่มู่ ซึ่งพื้นที่แอ่งกะทะถาหลี่มู่นั้นอยู่ระหว่างเทือกเขาไท้ซานและเทือกเขาคุนหลุนโดยครอบคลุมพื้นที่กว่า 530,000 ตร.กม. นับเป็นพื้นที่แอ่งกะทะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ทะเลทรายกว่า 800,000 ตร.กม. โดยมีทะเลทรายถ่าเค่อลามากัน ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของมณฑล ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอาณาเขตทะเลทรายที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 330,000 ตร.กม.

แม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำถาหลี่มู่ซึ่งมีความยาว 2,100 กิโลเมตร

เขตปกครองตนเองซินเจียง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขต ได้แก่

  • เขตจี๋ถ่าเฉิง (Tacheng)
  • เขตอาสั่วไท้ (Altay)
  • เขตทูหลูฟาน (Turpan)
  • เขตฮาร์มี่ (Hami)
  • เขตอาเค่อซู (Aksu)
  • เขตคาเมอ (Kashgar)
  • เขตเหอเถียน (Hotan) มีเมืองหลักที่สำคัญ ได้แก่ เมืองอูหลู่มู่ฉี (Urumqi) เมืองเค่อลาหม่าอี (Karamay)

และเมืองระดับตำบล 17 เมือง ได้แก่

  • เมืองฉือเหอจื่อ (Shihezi)
  • เมืองฮาร์มี่ (Hami)
  • เมืองทูหลูฟาน (Turpan)
  • เมืองฉางจี๋ (Changji)
  • เมืองคุนตุน (Kuytun)
  • เมืองป๋อเล่อ (Bole)
  • เมืองอีหนิง (Yining)
  • เมืองถ่าเฉิง (Tacheng)
  • เมืองอาเล่อไท่ (Altay)
  • เมืองคู่เอ๋อเล่อ (Korla)
  • เมืองอาเค่อซู (Aksu)
  • เมืองอาถูเมอ (Atux)
  • เมืองคาเมอ (Kashgar)
  • เมืองเหอเถียน (Hotan)
  • เมืองฟู่คัง (Fukang)
  • เมืองหมี่ฉวน (Miquan)
  • เมืองหวูซู่ (Wusu)

นอกจากนี้ยังมีเขตเทศบาลอีก 5 เขต ได้แก่

  • เขตเทศบาลอีหลีฮาร์ซ่าเค่อ (Ili Kazak)
  • เขตเทศบาลฉางจี๋หุยจู่ (Changji Hui)
  • เขตเทศบาลปายินกัวเหลิงเมิ่งกู (Bayangol Mongol)
  • เขตเทศบาลป๋อเอ๋อร์ถ่าลาเหมิงกู่ (Bortala Mongol )
  • เทศบาลเค่อจื้อเล่อซูเคอเอ๋อเค่อจื้อ (Kizilsu Kirgiz)

ทรัพยากรธรรมชาติ

  • ในอาณาบริเวณพื้นที่อันกว้างใหญ่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงนั้น คิดเป็นพื้นที่เทือกเขากว่าร้อยละ 56 และพื้นที่แอ่งกะทะกว่าร้อยละ 44 ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดดังกล่าวแบ่งเป็นส่วนของการใช้ในการทำปศุสัตว์ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้และทุ่งหญ้า คิดเป็นประมาณ 63,045,800 เฮคเตอร์ ซึ่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.9 ของพื้นที่ทั้งหมด
  • พื้นที่แอ่งกะทะกว่าร้อยละ 44 ซึ่งพื้นที่ทั้งหมด แบ่งเป็นส่วนของการใช้ในการทำปศุสัตว์ พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้และทุ่งหญ้า
  • ในจำนวนพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่การเกษตร 4,025,500 เฮคเตอร์ พื้นที่ท้องทุ่ง 335,900 เฮคเตอร์ พื้นที่ป่าไม้ 6,759,470 เฮคเตอร์ และพื้นที่ที่ใช้ในการทำปศุสัตว์ 15,215,830 เฮคเตอร์
  • ทั้งนี้พื้นที่ทางปศุสัตว์ดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ปศุสัตว์ทั้งประเทศ นับเป็นอาณาบริเวณที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ

ซินเจียงมีแร่ธาตุกว่า 138 ชนิด โดยในจำนวนดังกล่าวเป็นแร่ธาตุสงวนสำรอง 43 ชนิด และมีน้ำมันปิโตรเลียมสำรองที่ถูกค้นพบในบริเวณแอ่งกะทะเค่อลาหม่าจำนวน 208,600 ล้านตัน ซึ่งแหล่งน้ำมันดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2498 นอกจากนี้ยังมีแก๊สธรรมชาติ 10,300,000 ล้านคิวบิคเมตร

ทั้งนี้น้ำมันและแก็สธรรมชาติในซินเจียงนั้นมีปริมาณคิดเป็นอัตราส่วนที่ได้รับการสำรองทั้งหมดในประเทศจีนอยู่ถึงร้อยละ 30 และร้อยละ 34 ตามลำดับ ซึ่งจัดเป็นเขตที่มีปริมาณน้ำมันปิโตรเลี่ยมและแก็สธรรมชาติมากอยู่ในอันดับสามและอันดับหกของจีน ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีถ่านหินที่ได้รับการสำรองไว้โดยประมาณ 2,190,000 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นปริมาณร้อยละ 40 ของปริมาณทั้งประเทศ ทั้งนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆอีกได้แก่ แร่ทองแดง ทองคำ แร่เหล็ก เป็นต้น

ในเดือนสิงหาคม ปี 2547 ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกครั้งในเขตพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อ โดยมีปริมาณน้ำมันสำรองจำนวน 261 ล้านตัน และแก๊สธรรมชาติ 14.6 ล้านตัน

เดือนธันวาคม 2551 ได้ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่ ในพื้นที่แอ่งกระทะจุ่นก๋าเอ่อร์ (Dzungarian Basin) มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากกว่า 1 แสนล้านลูกบาศก์เมตร

คาดว่าจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่นี้ได้ในปริมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 50 ปี ทั้งนี้ พื้นที่กว่า 2 ใน 3 ของแหล่งก๊าซธรรมชาติเค่อลาเหม่ยลี่เป็นดินหินภูเขาไฟ จากการคาดการณ์ ปริมาณที่ค้นพบในปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณก๊าซที่มีเท่านั้น เชื่อว่าในอนาคตจะสามารถค้นพบบ่อก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่กว่าที่เคยพบในปัจจุบันได้

เขตปกครองตนเองซินเจียงยังเป็นเขตที่ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์อย่างสมบูรณ์เป็นอันดับสองของประเทศจีน จึงเป็นเขตที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืชประเภทเมลอน ยางพารา มะเขือเทศ องุ่นถูหลู่ฟาน ปอ โดยมีปริมาณผลผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40 ของผลผลิตทั้งประเทศ

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

เขตการปกครองตนเองซินเจียง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี ในอดีตถูกปกครองจากชนชาติหลากหลายกลุ่มด้วยกัน และมีการค้นพบปรากฏหลักฐานมนุษย์ยุคหินในซินเจียง ซึ่งเป็นมนุษย์ในยุคสมัยอดีตในช่วง 60 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ในอดีตกษัตริย์ในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปี ก่อนคริสตกาล – ปี ค.ศ.1884) ได้เข้ายึดครองพื้นที่ในเขตซินเจียง ต่อมาในสมัยราชวงฮั่นตะวันตกได้มีการสร้างเมืองทางแถบตะวันตกขึ้น และหนึ่งในนั้นคืออาณาเขตเมืองซินเจียงในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยดังกล่าวซินเจียงนับเป็นเขตปกครองสำคัญซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของเส้นทางสายไหมเดิม

ในยุคสมัยต่อมาซินเจียงได้ถูกใช้เป็นเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังกับประเทศในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งเส้นทางดังกล่าวมีความยาว 6,440 กิโลเมตร มีระยะทางไปจนถึงอาณาจักรโรมัน โดยทางการกำหนดให้เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นเมืองด่านเก็บภาษี และต่อมาในสมัยกษัตริย์กวงซูแห่งราชวงศ์ชิงได้สถาปนาชื่อเขตซินเจียงขึ้นใหม่ ซึ่งเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ “ซีเจียง” เป็น “ซินเจียง”

ในปัจจุบัน และมีการกำหนดให้เมืองอูหลู่มู่ฉี (แต่เดิมชื่อเมืองฉีหัว) เป็นเมืองหลวงของเขต ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นเขตปกครองตนเองซินเจียงจวบจนมาถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นของซินเจียงยังมีภาษาและวรรณคดีของชาวอุยเกอร์ ที่เป็นภาษาที่ยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งภาษาท้องถิ่นนี้ยังปรากฏในบทกวี ดนตรีและการเต้นรำของชนชาติดังกล่าวในปัจจุบันอีกด้วย

ข้อมูลประชากร

  • สิ้นปี 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 23.98 ล้านคน
  • อัตราการเกิด 15.34‰
  • อัตราการตาย 4.26‰
  • คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรร้อยละ 11.08‰
  • เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรชนชาติต่างๆ อยู่ทั้งสิ้น 47 ชนชาติ

ชนกลุ่มน้อยที่สำคัญได้แก่

  • ชนชาวอุยกูร์ซึ่งมีจำนวนประชากรอยู่ร้อยละ 45.62
  • ชนชาวฮาร์ซ่าเค่อร้อยละ 7.04
  • ชนชาวหุยร้อยละ 4.46
  • ชนชาวมองโกลร้อยละ 0.86

โดยรวมแล้ว ประชากรของซินเจียงเป็นชนกลุ่มน้อยอยู่ประมาณร้อยละ 60.4 และมีชนชาวฮั่นอยู่ร้อยละ 39.6

ปี 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีจำนวนประชากรที่มีงานทำ 12.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 4.6 แสนคน อัตราว่างงานของประชากรในเขตเมืองเท่ากับร้อยละ 3.22

สภาพภูมิอากาศ

  • เขตปกครองตนเองซินเจียงมีสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย
  • ทิศเหนือและทิศใต้มีความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจน
  • บริเวณพื้นที่ภูเขาส่วนใหญ่ มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปี 6 องศาเซลเซียส ส่วนพื้นที่อื่นๆ อากาศแห้งแล้ง เดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำสุด -20 ถึง -10 องศาเซลเซียส เดือนกรกฎาคม อุณหภูมิสูงสุด 30 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิอุณหภูมิโดยเฉลี่ยระหว่างวันอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส และในบริเวณพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อมีอุณหภูมิสูงสุดไปถึง 40-45 องศาเซลเซียส

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

รูปแบบการปกครองของเขตการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง

หน่วยงานต่างๆของเขตปกครองตนเองซินเจียง

Agriculture Department Animal Husbandry Department
Audit Department Autonomous Regional General Office
Civil Affairs Department Communications Department
Construction Department Culture Department
Development and Reform Commission Economic and Trade Commission
Education Department Environmental Protection Bureau
Ethnic Affairs Commission (Religious Affairs Bureau) Finance Department
Food and Drug Administration Foreign Affairs Bureau (Overseas Chinese Affairs Office)
Foreign Trade and Economic Cooperation Department Forestry Bureau
Grain Bureau Health Department
Industry and Commerce Administration Justice Department
Labour and Social Security Department Land and Resources Department
Legislative Affairs Office Local Taxation Bureau
Personnel Department Population and Family Planning Commission
Press and Publication Bureau (Copyright Bureau) Prison Affairs Bureau
Public Security Department Quality and Technical Supervision Bureau
Radio, Film and Television Bureau Restructuring Economic System Office
Science and Technology Department Sport Bureau
State-owned Assets Supervision and Administration Commission Statistics Bureau
Supervision Department Tourism Bureau
Water Resources Department

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายเฉิน ฉวนกั๋ว (Chen Quanguo)

เลขาธิการพรรคฯ

นายนู่เอ่อหลัน อาปตูหมั่นจิน (Nurlan Abdumakin)

ประธานเขตฯ

นายไน่ยีมู่ ย่าเซิน (Neillem Arsene)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายนู่เอ่อหลัน อาปตูหมั่นจิน (Nurlan Abdumakin)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐเขตปกครองตนเองซินเจียงได้ที่ http://www.xinjiang.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. เมืองอูหลู่มู่ฉี

เมืองอูหลู่มู่ฉีถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงของซินเจียงตั้งแต่ปี 2427 นับเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญของนโยบายการพัฒนาเขตตะวันตกของประเทศ และเป็นเมืองสำคัญของซินเจียงที่เชื่อมต่อระหว่างมณฑลอื่นๆ ของจีนรวมถึงเชื่อมไปยังต่างประเทศอีกด้วยโดยตัวเมืองมีพื้นที่ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณตอนเหนือของภูเขาเทียนซาน และตอนใต้ของพื้นที่แอ่งกะทะจุนก๋าเอ๋อ โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 12,000 ตร.กม. ซึ่งเมืองหลวงแห่ง

เมืองอูหลู่มู่ฉีได้รับขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งถ่านหิน” โดยมีแหล่งถ่านหินใต้ดินที่สำรองไว้กว่า 10 ล้านล้านตัน ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดี นอกจากนั้นเมืองอูหลู่มู่ฉียังมีทรัยพยากรเกลือ แร่ยิปซั่ม น้ำมันปิโตรเลียม ธาตุฟอสฟอรัส เหล็ก ทองแดง ยูเรเนียม แมงกานีส และทองคำ

สิ้นปี 2559 เมืองอูหลู่มู่ฉีมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3.51 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ 43 ชนชาติ ทั้งนี้ชนชาติหลักๆได้แก่ ชนชาติฮั่น อุยกูร์ คาซัค หุย มองโกเลีย

เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมพื้นฐาน โดยเป็นเขตที่มีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมการทำโลหะผสม อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกจากนี้ เมืองอูหลู่มู่ฉียังเป็นแหล่งเพาะปลูกผักและผลไม้ของประเทศจีนที่สำคัญอีกด้วย

เมืองอูหลู่มู่ฉีเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน (รองจากนครซีอัน มณฑลส่านซี) ในขณะที่จีนให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road” เมืองอูหลู่มู่ฉีถือเป็นจุดสำคัญบน “One Belt, One Road” ซึ่งเป็นประตูของจีนในการเปิดตัวสู่ทางตะวัน

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีอูหลู่มู่ฉี (Urumqi Economic and Technological Development Zone)

  • เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศ
  • ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2537
  • มีพื้นที่ทั้งหมด 4.34 ตร.กม.
  • มีระยะห่างจากใจกลางเมือง 10 กิโลเมตร
  • ระยะห่างจากสนามบินนานาชาติอูหลู่มูฉี 2.6 กิโลเมตร
  • ระยะห่างจากสถานีรถไฟสายเหนือ 3 กิโลเมตร
  • ระยะห่างจากสถานีรถไฟสายตะวันตก 6 กิโลเมตร

เขตพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่มีอยู่ภายในเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ำมันและถ่านหินที่มีและผลิตได้ในเขตพื้นที่โดยเขตอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเขตที่เน้นการพัฒนาในอุตสาหกรรมและส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ดังนี้

  • เน้นการพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ และอุตสาหกรรมด้านธุรกิจการแปรรูปเชิงลึกรวมทั้งธุรกิจอื่นที่มีความสามารถในการแข่งขัน
  • อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
    ได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสาร วิศวกรรมเคมี พลังงานใหม่ อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ การรักษาสภาพแวดล้อม
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยมีตลาดส่งออก
    ได้แก่ ประเทศเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก และทวีปยุโรป
  • ธุรกิจภาคการบริการ
    ได้แก่ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ธุรกิจการวิจัยและการพัฒนา (R&D) ธนาคาร การท่องเที่ยว การบริการให้ข้อมูลข่าวสาร

2. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงสมัยใหม่ (Urumqi New and Hi-tech Industry Development Zone)

  • ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 มีพื้นที่ทั้งหมด 18.75 ตร.กม.
  • มีระยะห่างจากสนามบินนานาชาติอูหลู่มู่ฉีและสถานีรถไฟ 10 กิโลเมตร

มีนโยบายในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การลงทุน และการบริการที่ดีเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนและการทำธุรกิจในเขตนี้ มุ่งเน้นการแข่งขันในอุตสาหกรรม 4 ประเภทได้แก่

  • อุตสาหกรรมยาปฏิชีวนะ
  • อุตสาหกรรมไอที
  • อุตสาหกรรมพลังงานใหม่
  • อุตสาหกรรมวัสดุสมัยใหม่

ในขณะเดียวกันก็มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดั้งเดิม และเพิ่มศักยภาพของบุคคลากร เพื่อให้อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของท้องถิ่น

เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นเขตศูนย์กลางบนแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม รวมทั้งสนับสุนนวัตกรรมของวิสาหกิจเขตฯ มีนโยบายให้เงินรางวัลแก่โครงการเทคโนโลยีในเขตฯ สูงที่สุด 5 ล้านหยวน

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางขนส่งทางบก

พื้นที่ของเขตปกครองตนเองซินเจียงกว่าร้อยละ 99 สามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์รวมไปถึงเขตพื้นที่ชนบทเขตเมืองต่างๆ โดยเส้นทางต่างๆ นั้นมีเมืองอูหลู่มูฉีเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ทางทิศตะวันออกมีถนนเชื่อมไปยังมณฑลกานสู มณฑลชิงไห่ ทิศใต้เชื่อมกับทิเบต ทิศตะวันตกมีถนนออกไปยังประเทศในแถบเอเชียกลาง

สิ้นปี 2559 ทางหลวงในเขตปกครองตนเองซินเจียงมีระยะทางทั้งสิ้น 182,100 กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นทางด่วน 4,395 กิโลเมตร (ทางด่วนหลัก 8 เส้นทาง)

พื้นที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีนนั้นมีเส้นทางรถไฟค่อนข้างน้อย โดยมีเส้นทางรถไฟสำคัญระหว่างเมืองหลานโจวถึงซินเจียงมีระยะทางประมาณ 2,000 กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟระบบรางคู่ ซึ่งเชื่อมต่อเขตพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันตกของจีนเข้าด้วยกัน และมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟข้ามพรมแดนซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างท่าเรือทางตะวันออกของประเทศจีนกับทวีปยุโรป

  • เส้นทางแรกอยู่ทางทิศใต้ของเขตปกครองตนเองซินเจียง โดยเป็นเส้นทางที่เชื่อมถึงประเทศคีร์กิซสถาน และอุสเบกิสสถาน ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2551 เส้นทางดังกล่าวจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อไปถึงท่าเรือเหลียนยุ่นในมณฑลเจียงซู
  • เส้นทางที่สองเชื่อมระหว่างประเทศคาซัคสถานและเมืองจิ่งเหอ เมืองอีหนิงและเมืองฮอร์กอสประเทศยูโกสลาเวีย เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการค้าระหว่างเอเชียกลางและทวีปยุโรป

ตามแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของจีนฉบับที่ 11 เมื่อถึงปี 2563 เขตปกครองตนเองซินเจียงจะมีเส้นทางรถไฟสายใหม่เพิ่มขึ้น 5 สายหลัก โดยรวมมูลค่าการลงทุนกว่า 26,600 ล้านหยวน ในจำนวนทางรถไฟ เป็นทางรถไฟที่สร้างเชื่อมต่อกับทางรถไฟเดิม 4 สาย และเป็นทางรถไฟที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ 1 สาย เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายระบบเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกันทั้งประเทศ เพื่อผลักดันระบบโลจิสติกส์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ตามแผนการพัฒนา

เส้นทางขนส่งทางอากาศ

จนถึงเดือน มิถุนายน 2559 เขตปกครองตนเองซินเจียงมีสนามบินเปิดให้บริการทั้งหมด 18 แห่ง เป็นมณฑลที่มีสนามบินมากที่สุดของจีน ซึ่งมีเส้นทางการบินภายในประเทศ 195 เส้น และเส้นทางการบินระหว่างประเทศ 40 เส้น

สนามบินนานาชาติของเมืองอู่หลูมู่ฉี มีเส้นทางการบินไปยังประเทศในเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก ยุโรปและแอฟริกา ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2550 รัฐบาลเขตปกครองตนเองซินเจียง การท่าอากาศยานแห่งประเทศจีน และสายการบินเซาส์ไชน่าแอไลน์ ได้ลงทุนร่วมกันเป็นเงินกว่า 2,800 ล้านหยวน เพื่อทำการขยายท่าอากาศยานประจำเมืองอูหลู่มู่ฉีออกไปอีกสามเท่าตัว เพื่อผลักดันให้ท่าอากาศยานดังกล่าวกลายเป็นท่าอากาศยานที่สำคัญแห่งทวีปเอเชียกลาง โดยในปี 2559 ได้รองรับผู้โดยสาร 20 ล้านคน ติดอันดับที่ 17 ของจีน รวมทั้งรองรับการบรรทุกสินค้า 1.6 แสนตัน ติดอันดับที่ 17 ของจีน

เศรษฐกิจ

ข้อมูลทั่วไปทางเศรษฐกิจ

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 13 (ค.ศ. 2559 – 2563)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี
  • โครงสร้างเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น โดยภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการครองสัดส่วนร้อยละ 14.5 ร้อยละ 37 และร้อยละ 48.5 ตามลำดับ
  • รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นมากว่าร้อยละ 6.5 ต่อปี
  • การลงทุนทรัพย์สินถาวรเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 12 ต่อปี
  • ยอดการขยายปลีกเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ต่อปี
  • มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 8 ต่อปี
  • อัตราการพัฒนาความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45
  • อัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4.5
  • อัตราการเติบโตของรายได้ประชากรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8
  • การใช้พลังงานต่อหน่วย GDP อยู่ในระดับที่จีนกำหนด

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2017

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 7
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตมากกว่าร้อยละ 50
  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 10
  • มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 3.5
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชนในเขตเมืองและเขตชนบทเติบโตร้อยละ 7.5 และร้อยละ 8 ตามลำดับ
  • ควบคุมอัตราการว่างงาน (ที่ลงทะเบียน) ไม่เกินร้อยละ 4.5

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • เขตปกครองตนเองซินเจียงเป็นแหล่งวัตถุดิบพลังงานที่สำคัญของจีน อุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าสธรรมชาติ และแร่ธาตุ
    มีถ่านหินสำรองและน้ำมันสำรองมากที่สุดของจีน และเป็นแหล่งพลังงานลมใหญ่ที่สุดของจีน
  • เป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจีน และเป็นมณฑลที่มีพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านมากที่สุด มีความได้เปรียบในการพัฒนาการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
  • มีทรัพยากรการเท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • เป็นแหล่งผลิตผลไม้เฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดของจีน
  • เป็นแหล่งผลิตฝ้ายมากที่สุดของจีน
  • เป็นจุดสำคัญในเส้นทางสายไหมสมัยโบราญ และอยู่ในศูนย์กลางของยุทธศาสตร์ “One Belt, One Road”

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลซินเจียงให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้

  • การแปรรูปสินค้าเกษตร การผลิตและแปรรูปสินค้าอุตสาหกรรมเบาที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ อาหาร ฝ้าย และไหม
  • อุตสาหกรรมปิโตรเคมี การสำรวจ การขุดเจาะ และการแปรรูปโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก
  • การก่อสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อาทิ โครงการชลประทาน โครงการพลังงาน และโครงการคมนาคม
  • การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวและการสร้างสถานที่ท่องเที่ยว
  • วัตถุดิบใหม่ที่ใช้ในการก่อสร้างและวัตถุดิบใหม่เพื่อประหยัดพลังงาน

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน