SHANXI

มณฑลซานซี

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

  • มณฑลซานซีตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศจีน
  • ทิศตะวันออกมีภูเขาไท่หังซาน และมีพื้นที่ติดกับมณฑลเหอเป่ย
  • ทิศตะวันตกมีภูเขาหลี่ว์เหลียงซาน
  • ทิศตะวันตกและทิศใต้มีแม่น้ำเหลือง
  • มีอาณาเขตอยู่ติดกับมณฑลส่านซี
  • ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ติดกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน
  • ทิศใต้ติดกับมณฑลเหอหนาน
  • มณฑลซานซีมีที่ตั้งอยู่หลังภูเขาไท่หังทางทิศตะวันตก
    จึงได้รับขนานนามว่า “ซานซี” หรือมณฑลด้านตะวันตกของภูเขา

มณฑลซานซีมีพื้นที่ทั้งหมด156,579 ตร.กม. คิดเป็น 1.6 % ของพื้นที่ทั้งหมด จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกมีระยะทาง 290 กม. ทิศเหนือไปยังทิศใต้มีระยะทาง 550 กม.

มณฑลซานซีมีภูมิประเทศที่หลากหลาย ประกอบด้วยภูเขา เนินเขา ที่ราบสูง และที่ราบลุ่มโดยมีพื้นที่ที่เป็นภูเขามากกว่า 80 % ของพื้นที่ทั้งหมด และคิดเป็นสองในสามของพื้นที่รวมทั้งหมดในมณฑล พื้นที่ที่เป็นภูเขาและเนินเขาโดยส่วนใหญ่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 – 2,000 เมตร
แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำเฝินเหอ ซึ่งมีความยาว 659 กม. แม่น้ำไห่เหอ ซึ่งภายในมณฑลมีแม่น้ำ 1,000 กว่าสาย

ทรัพยากรสำคัญ

มณฑลซานซีมีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุกว่า 105 ชนิด ในจำนวนนี้มีการสำรวจและนำมาใช้ประโยชน์แล้ว 67 ชนิด โดยมีแร่ธาตุที่ค้นพบเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ได้แก่ ถ่านหิน หินแร่บอคไซท (Bauxite) ธาตุแกลเลียม (Gallium) อลูมินัม ซีอะไลท (Zeolite) Refractory clay

  • มณฑลซานซีได้รับขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งถ่านหิน”
  • มีพื้นที่ที่มีแร่ถ่านหิน 62,800 ตร.กม.
  • โดยคิดเป็น 40% ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นแหล่งที่ผลิตถ่านหินปริมาณมากกว่า 100 ล้านตันต่อปีซึ่งเป็นหนึ่งในหกพื้นที่ที่ผลิตได้ในโลก และคาดว่ามีปริมาณถ่านหินประมาณ 900,000 ล้านตัน
  • มีการสำรวจปริมาณถ่านหินแล้ว 260,800 ล้านตัน คิดเป็นปริมาณถ่านหินหนึ่งในสามของทั้งประเทศ
  • ถ่านหินประเภท Coking Coal คิดเป็น 55.6 % ของทั้งประเทศ โดยมีแหล่งถ่านหินที่สำคัญ 6 แห่ง อยู่ที่เมืองต้าถ่ง แหล่งถ่านหินซีซาน แหล่งถ่านหินหนิ่งหวู แหล่งถ่านหินเหอตง แหล่งถ่านหินมี่สุ่ย และแหล่งถ่านหินฮั้วซี

ส่วนแร่หินบอคไซท์ (Bauxite) มีปริมาณ 941 ล้านตัน คิดเป็น 41.63 % ของทั้งประเทศ ธาตุเหล็ก มีปริมาณ 3,442 ล้านตัน
คิดเป็น 7.2 % ของทั้งประเทศ

มณฑลซานซีพื้นที่ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้มีทรัพยากรพืชผัก และป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และป่าไม้ประเภท Broadleaved พื้นที่ภาคกลางมีป่าประเภทต้นสน ต้นไม้ผลัดใบ มีทรัพยากรสัตว์ป่ามากกว่า 400 ชนิด โดย 70 ชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

มณฑลซานซีได้รับการขนานนามว่าเป็น “พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมโบราณของประเทศจีน” โดยมีวัฒนธรรมเหอตู้และติงชุน และมีการค้นพบมนุษย์โบราณสมัยยุคหินเก่าในสมัยราชวงศ์เซี่ย และได้เริ่มก่อตั้งประเทศจีนบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลซานซี ในสมัยราชวงศ์ซางมณฑลซานซีเป็นพื้นที่ปกครองหลัก

ต่อมาสมัยราชวงศ์หนานเป่ยเฉา (ค.ศ. 420-589) มณฑลซานซีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง และสมัยราชวงศ์เป่ยเหว่ยได้สร้างเมืองต้าถ่ง (แต่ก่อนเรียกผิงตี้) เป็นเมืองหลวง สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์เหลียวมณฑลซานซีเป็นเมืองสำคัญทางตอนเหนือของประเทศจีน และเป็นเมืองที่พัฒนาทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม

สมัยราชวงศ์หยวนหรือมองโกล ประเทศจีนมีมณฑลทั้งหมด 11 มณฑล โดยมณฑลซานซี ณ เวลานั้น มีพื้นที่คลอบคลุมถึงมณฑลเหอเป่ย และกลายเป็นมณฑลที่สำคัญของราชวงศ์หยวน ประกอบกับการพัฒนาของเศรษฐกิจในมณฑลจนได้รับการยกย่องจากมาร์โคโปโล จนถึงในสมัยราชวงศ์หมิงการพัฒนาทางเศรษฐกิจของมณฑลได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นเมืองอันดับต้นของประเทศ

มณฑลซานซีเป็นหนึ่งในพื้นที่การปฏิวัติ ในปี 1924 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ตั้งให้มณฑลซานซีเป็นมณฑลบริหาร ในการสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ในวันที่ 24 เมษายน 1949 เมืองไท่หยวนได้รับการปลดปล่อยและตั้งให้เป็นเมืองหลวงของมณฑลซานซี และในปีเดียวกันวันที่ 1 ตุลาคม สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ก่อตั้งขึ้น

ข้อมูลประชากร

ในปี 2561 ในมณฑลซานซีมีจำนวนประชากร 37,183,400 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 159,900 คน อัตราการเกิดพันละ 9.63 อัตราการตายพันละ 5.32 อัตราการเติบโตของประชากรพันละ 4.31

สภาพภูมิอากาศ

  • มณฑลซานซีได้รับอิทธิพลของมรสุมเขตภาคพื้นทวีป โดยมีภูมิอากาศแบ่งเป็น 4 ฤดูอย่างชัดเจน
  • มีระยะห่างจากทะเลไม่มากและมีภูเขากั้นทิศทางลม ทำให้ลมฤดูร้อนไม่มีอิทธิพลต่อมณฑลนี้มากนัก และอยู่ในลมมรสุมเขตอบอุ่น
  • มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 3-14 องศาเซลเซียส
  • เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีอากาศร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 21-26 องศาเซลเซียส
  • มีความแตกต่างของอากาศระหว่างตอนเช้าและตอนเย็นสูง
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 400-650 มิลลิเมตรต่อปี

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

มณฑลซานซีประกอบด้วยเมืองทั้งหมด 11 เมือง 119 อำเภอ ได้แก่

  • เมืองต้าถ่ง
  • เมืองโซ่วโจว
  • เมืองซินโจว
  • เมืองหลู่เหลียง
  • เมืองไท่หยวน
  • เมืองหยางฉวน
  • เมืองจิ้นจง
  • เมืองหลินเฟิน
  • เมืองฉางจื้อ
  • เมืองยุ่นเฉิง
  • เมืองจิ้นเฉิง

รูปแบบการปกครองของมณฑลเหอหนาน

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหวัง ยิ๋วหลิน (Wang Rulin)

เลขาธิการพรรคฯ

นายหลี่ เสี่ยวผืง (Li Xiaopeng)

ผู้ว่าการมณฑล

นายหวัง ยิ๋วหลิน (Wang Rulin)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายซุย เหยินจง (Xue Yanzhong)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลนมณฑลซานซีได้ที่ http://www.shanxigov.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

นครไท่หยวน

  • ไท่หยวนเป็นเมืองหลวงของมณฑลซานซี ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของแม่น้ำเหลืองทางตอนเหนือของประเทศจีน
  • แม่น้ำเฝินเหอซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเหลือง มีความยาว 100 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก ตะวันออกและทิศเหนือล้อมรอบด้วยภูเขา
  • มีพื้นที่ทั้งหมด 6,998 ตร.กม.
  • มีอุณหภูมิเฉลี่ย 9.5 องศาเซลเซียส

จนถึงสิ้นปี 2014 เมืองไท่หยวนมีจำนวนประชากรทั้งหมด 4,298,900 คน นครไท่หยวนเป็นเมืองอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศจีน ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 4 ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมเทคนิคการทำโลหะผสม อุตสาหกรรมเครื่องจักรเครื่องกล และอุตสาหกรรมเคมี

นอกจากนั้นยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมวัสดุสิ่งก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก เคมี ซีเมนต์และปุ๋ย

นอกจากนี้ นครไท่หยวนยังเป็นแหล่งผลิตถ่านหินที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศจีน อย่างไรก็ตามนครไท่หยวนก็ยังต้องการการลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีการขุดเจาะถ่านหิน ซึ่งการขาดเงินทุนในการสำรวจนี้มีผลต่อการผลิตและผลกำไรเป็นอย่างมาก

บริษัทสำคัญที่เข้ามาลงทุนในนครไท่หยวน ได้แก่

  • Shanxi Coke and Coal Group Corporation ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตถ่านหินและถ่านโค้กที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
  • Taiyuan Iron and Steel Group Corporation เป็นบริษัทเหล็กชนิดพิเศษที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
  • Taiyuan Corundum Group Corporation ผลิตแร่คะรันดัม ( Brown Corundum ) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • Taiyuan Heavy Machinery Plant บริษัทผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องกล

นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ ได้แก่ Xishan Coal and Electricity Power Co.,Ltd , Taiyuan Coal Gasification Group Corporation , Taiyuan No.1 Thermal Power , Taiyuan Chemical Group

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1.เขตพัฒนาเศรษฐกิจเอกชนไท่หยวน ( Taiyuan Private Economic Development Zone )

ก่อตั้งขึ้นในปี 1970 ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองไท่หยวน มีพื้นที่ 4 ตร.กม. ปัจจุบันเริ่มมีการก่อตัวของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่ชัดเจน 4 กลุ่ม และมีแผนการพัฒนาต่อไปในอนาคต คือ

  • คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการผลิต ได้แก่ Shanxi New Machinery and Equipment Ltd.
  • คลัสเตอร์ธุรกิจการบริการขนส่งโดยมีสถานีขนส่งตะวันออกเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ Shanxi Speeding Medicine Ltd. เป็นผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้
  • คลัสเตอร์กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์สมัยใหม่ ได้แก่ Tang Shanxi Distribution Limited Liability Company และ Shanxi Yingze Logistics Ltd.
  • คลัสเตอร์ธุรกิจการค้าปลีกและการค้าส่ง ได้แก่ ตลาดค้าปลีก Shanxi Chaoyang Xiecheng

2. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงแห่งชาติไท่หยวน ( Taiyuan National High tech Industrial Development Zone )

เขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติเขตเดียวในมณฑลซานซี มีพื้นที่ 60.8 ตร.กม. เป็นเขตที่เน้นการพัฒนาในอุตสาหกรรมหลัก 5 ประเภท ได้แก่

  • อุตสาหกรรม Micro – Electronic Information
  • อุตสาหกรรม Optical, Mechanical and Electronic Integration
  • อุตสาหกรรม New Material
  • อุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน
  • อุตสาหกรรมยาและชีวภาพ

3. เขตพัฒนาไท่หยวนชิงฉวนหู ( Taiyuan Qingquanhu Development Zone )

  • เป็นเขตเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ชั้นสูง
  • อาหารเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • การเกษตรสมัยใหม่
  • ธุรกิจโลจิสติกส์คลังสินค้า
  • อุตสาหกรรม New Material
  • อุตสาหกรรมสนับสนุน
  • โดยเป็นเขตที่มีนโยบายสร้างพื้นที่ให้เป็นเขตพื้นที่สมัยใหม่

4. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีไท่หยวน ( Taiyuan Economic Development Zone)

  • มีพื้นที่ทั้งหมด 9.6 ตร.กม.
  • ดึงดูดให้เกิดการลงทุนและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่
  • อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง
  • ธุรกิจการบริการ
  • อุตสาหกรรม IT
  • อุตสาหกรรม New material
  • อุตสาหกรรมยาและชีวภาพ

มีฐานการแปรรูปสองแห่งใหญ่ ได้แก่ ฐานแปรรูปเชิงลึกโลหะผสมอลูมิเนียม แมงกานีส และฐานการแปรรูปอะไหล่รถยนต์และเครื่องจักร

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางทางบก

มณฑลซานซีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญทางภาคเหนือของจีน มีสถานีรถไฟกระจายอยู่ทั้ง 11 เมือง มีเครือข่ายเส้นทางหลวง 3 แนวตั้ง 11 แนวนอน และ 11 วงแหวน ครอบคลุม 108 อำเภอ

ถึงสิ้นปี 2017 มณฑลซานซีมีเส้นทางหลวงรวมทั้งสิ้น 143,000 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางด่วนความยาวรวมทั้งสิ้น 5,335 กิโลเมตร

เส้นทางด่วนไท่หยวน-จิ่วกวนเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกับเส้นทางด่วนปักกิ่ง-สือเจียจวง ซึ่งเป็นเส้นทางเครือข่ายที่เชื่อมถึงเส้นทางด่วนจิงจินถางและเส้นทางด่วนจิงเสิ่น

มณฑลซานซีมีเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้า คือ เส้นทางรถไฟสายใต้ถงผู่ และเส้นทางสายเหนือฉือไท้
โดยมีเส้นทางรถไฟสายหลัก 9 สาย เส้นทางสายย่อย 13 สาย และเส้นทางสาขา 400 สาย ที่เชื่อมไปยังเมืองใหญ่ต่าง ๆ เช่น เมืองชิงเต่า เมืองเทียนจิน เมืองท่าฉือจิ่วสั่ว (มณฑลซานตง)

มณฑลซานซีมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหลายสาย ได้แก่ เส้นทางไท่หยวน-ปักกิ่ง เส้นทางทาหยวน-เจิ้งโจว เส้นทางไท่หยวน-อู่ฮั่น
ซึ่งได้ร่นเวลาการเดินทางระหว่างมณฑลซานซีกับมณฑลอื่น ๆ เป็นอย่างมาก

ในการขนส่งถ่านหินไปยังสถานีถ่านหินนั้น ยังมีปัญหาการขนส่งแบบคอขวด ถึงแม้ว่าจะมีการบริการการขนส่งระบบรถไฟฟ้าและระบบรางคู่ที่เป็นเส้นทางไปยังเมืองฉินหวงเต่า เหลียนหยุ่นหยาง ชิงเต่า ยานไถแล้วก็ตาม

ส่วนการก่อสร้างเส้นทางระบบรางคู่จากเมืองเป่าจีไปยังเมืองหลานโจวได้แล้วเสร็จในปี 2003 มีความยาว 576 กิโลเมตร โดยระบบรางคู่นี้สามารถรองรับน้ำหนักในการขนส่งได้ถึง 60 ล้านตันต่อปี

เส้นทางทางอากาศ

มณฑลซานซีมีสนามบินทัั้งหมด 7 แห่ง
(1) Taiyuan Wusu International Airport 太原武宿国际机场
(2) Changzhi Wangcun Airport 长治王村机场
(3) Datong Yungang Airport 大同云冈机场
(4) Linfen Qiaoli Airport 临汾乔李机场
(5) Lüliang Airport 吕梁大武机场
(6) Xinzhou Wutaishan Airport 忻州五台山机场

(7) Yuncheng Guangong Airport 运城关公机场

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ซู่นครไท่หยวน
Taiyuan Wusu International Airport/太原武宿国际机场

ก่อสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1939 อยู่ห่างจากตัวเมืองไท่หยวน 13.2 กิโลเมตร พื้นที่อาคารผู้โดยสารเท่ากับ 80,800 ตารางเมตร ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ได้ลงทุน1,570 ล้านหยวนเพื่อขยายสนามบิน ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ที่มีพื้นที่ 55,000 ตร.ม.

คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2015 โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6 ล้านคน มีเที่ยวบินประจำยังฮ่องกง นอกจากนี้ ยังมีเที่ยวบินเหมาลำยังประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์เป็นต้น

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลซานซี

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 13 และเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพทางการเติบโต
  • เร่งส่งเสริมการพัฒนาของธุรกิจบริการ มูลค่าเพิ่มของธุรกิจบริการครองสัดส่วนของมูลค่าเพิ่ม GDP ร้อยละ 40
  • อัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55
  • ควบคุมให้อัตราการว่างงานไม่เกินร้อยละ 4.5
  • อัตราการเติบโตของรายได้ประชากรร้อยละ 13
  • งบประมาณของ R&D ครองสัดส่วนของ GDP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.2
  • ยอดการค้าระหว่างประเทศเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี
  • ควบคุมดัชนีราคาผู้บริโภคให้อยู่อัตราไม่เกินร้อยละ 3
  • พัฒนามณฑลซานซีให้เป็นฐานพลังงานใหม่และฐานอุตสาหกรรมสำคัญของจีน
  • พัฒนามณฑลซานซีให้เป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่และศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภาคตะวันตกและภาคกลางของจีน

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 6 โดยเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีนวัตกรรม
  • รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 6
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตร้อยละ 16
  • รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7
  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 10
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 3
  • รักษาอัตราการว่างงานให้ไม่เกินร้อยละ 4.2 พร้อมเพิ่มโอกาสการจ้างงาน 510,000 อัตรา

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มีปริมาณสะสมของถ่านหินมากที่สุดในจีน เป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมดในจีน
  • เป็นฐานที่ใหญ่ที่สุดของจีนในการผลิตเหล้าขาว การขุดทองเหลืองและการผลิตเหล็กกล้าพิเศษ
  • เป็นมณฑลที่มีประวัติการค้ายาวนานโดยชาวซานซีมีชื่อเสียงในทางการค้าตั้งแต่ยุคเส้นทางสายไหม
  • เป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและพลังงานที่สำคัญของจีน
  • ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุดในจีน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลซานซีให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้

  • ธุรกิจบริการ อาทิ ธุรกิจการเงิน ธุรกิจเทคโนโลยี ธุรกิจวิทยศาสตร์ เป็นต้น
  • ธุรกิจการท่องเที่ยว อาทิ ธุรกิจการพัฒนาเขตการท่องเที่ยว ธุรกิจการก่อสร้างระบบสาธารณะพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว
  • อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ อาทิ รถเครน อุปกรณ์สำหรับการทำเหมืองแร่ถ่านหิน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมใหม่ อาทิ อุตสาหกรรมการแปรรูปถ่านหิน อุตสาหกรรมวัสดุใหม่ อุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมยาแผนโบราณจีน อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  • เกษตรกรรมสมัยใหม่ อาทิ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
  • อุตสาหกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • อุตสาหกรรมวัฒนธรรม

ส่วนนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้ http://www.shanxiinvest.com.cn

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน