QINGHAI

มณฑลชิงไห่

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

มณฑลชิงไห่ หรือมีความหมายเป็นภาษาไทยว่า “ทะเลสีเขียว” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อทะเลสาบน้ำเค็มฉาร์ฮั่น (Qarhan) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและใหญ่ที่สุดในโลก

  • ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล
    บนที่ราบสูงชิงจ้าง
  • ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลติดกับ
    เขตปกครองตนเองซินเจียง
  • ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับเขตปกครองตนเองทิเบต
  • ทิศตะวันออกติดกับมณฑลกานซู่
  • ทิศใต้ติดกับมณฑลเสฉวน
  • ความกว้างจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกของมณฑลมีระยะทาง 1,200 กิโลเมตร
  • จากทิศเหนือไปยังทิศใต้มีระยะทาง 800 กิโลเมตร
  • มณฑลชิงไห่มีพื้นที่ทั้งสิ้น 720,000 ตารางกิโลเมตร
  • เป็นมณฑลที่มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน
    คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

ภูมิประเทศโดยทั่วไปของมณฑลชิงไห่เป็นภูเขาและหุบเขา มีที่ราบแอ่งกะทะอยู่ตอนกลางของมณฑลคือ ที่ราบแอ่งกะทะไฉต๋ามู่ (Qaidamu) ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั้งมณฑลประมาณ 3,000 เมตร

ทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเทือกเขา

  • ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาทัวไหลหนานซาน เทือกเขาชูเล่อหนานซาน
  • ทิศเหนือ มีภูเขาอาร์เอ๋อจิงซาน และมีเทือกเขาคุนหลุน ฉีเหลียน ถางกู่

โดยเทือกเขาส่วนใหญ่จะมีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี และในช่วงฤดูร้อนหิมะจากยอดเขาจะละลายกลายเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) แม่น้ำหวงเหอ (แม่น้ำเหลือง) และแม่น้ำหลานชาง (แม่น้ำโขง)

ทรัพยากรธรรมชาติ

มณฑลชิงไห่เป็นมณฑลที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยบริเวณที่ราบแอ่งกะทะไฉต๋ามู่ (Qaidamu) ภูเขาและแม่น้ำจ้างเจิน และแหล่งแร่โกบี ได้รับสมญานามว่า “แหล่งมหาสมบัติ” ปัจจุบันมีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุแล้วทั้งสิ้น 120 ชนิด ที่สำคัญอาทิ โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม ลิเธียม เป็นต้น

และยังมีปริมาณแร่โพแทสเซียมคาร์บอเนตสำรองในบริเวณทะเลสาบน้ำเค็มฉาร์ฮั่น (Qarhan) ปริมาณถึง 145 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 97 ของแร่โพแทสเซียมคาร์บอเนตทั้งประเทศ และมณฑลมีทะเลสาบน้ำเค็ม 30 กว่าแห่ง มีปริมาณเกลือสะสมรวมกว่า 70,000 ล้านตัน

มณฑลชิงไห่ ยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซีเกียง และแม่น้ำโขง หรือ หลานชาง อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำ โดยทั้งมณฑลมีแม่น้ำทั้งสิ้น 108 สาย ซึ่งมีกำลังน้ำรวมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้กว่า 18,000,000 กิโลวัตต์

มณฑลชิงไห่ยังมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์อันกว้างใหญ่ นับเป็นมณฑลที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่สุด 1 ใน 4 ของประเทศจีน โดยมีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปศุสัตว์ 31,600,000 เฮคเตอร์ คิดสัดส่วนเป็นร้อยละ 15 ของเขตทุ่งหญ้าที่เหมาะสำหรับการทำปศุสัตว์ของทั้งประเทศ มีการเลี้ยงปศุสัตว์ ประเภท แกะ ม้า อูฐ และแพะ โดยมณฑลชิงไห่นั้นจัดเป็นเขตที่มีการเลี้ยงแกะมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีพันธุ์สัตว์ป่ากว่าพันชนิด รวมทั้งมีทรัพยากรพืชที่หลากหลายสำหรับการทำยา ที่สำคัญอาทิ Chinese rhubarb ชะเอม ต้นโสมจำพวก Panax seudogingseng เป็นต้น

ประชากร

สิ้นปี 2557 มณฑลชิงไห่มีประชากรทั้งสิ้น 5.83 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นประชากรในเขตเมือง 2.90 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.78 และเป็นประชากรในเขตชนบท 2.93 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.22 มีอัตราการเกิดพันละ 14.67 อัตราการตายพันละ 6.18 และอัตราขยายตัวของประชากรพันละ 8.49

สิ้นปี 2551 มณฑลชิงไห่มีประชากรที่มีงานทำทั้งสิ้น 3.17 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 1.5 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีงานทำในเขตเมือง 1.14 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และมีอัตราว่างงานร้อยละ 3.8

มีการค้นพบร่องรอยทางประวัติศาสตร์เมื่อ 4 พันปีก่อนคริสตกาล ว่ามณฑลชิงไห่ เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนเผ่าตี (氐) และในเวลาต่อมาเมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเชียง (羌) ได้อพยพเข้ามาอยู่ในบริเวณนี้

ในช่วง 121 ปีก่อนคริสตกาล ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกได้เข้ามาปกครอง และสร้างป้อมปราการและศาลาซีผิงขึ้น ซึ่งสิ่งก่อสร้างดังกล่าวเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สำคัญของแม่น้ำเหลือง

ต่อมาในปี ค.ศ. 4 กลุ่มชนชาติทูหยู่ฮุน ได้อพยพเข้ามาในพื้นที่บริเวณมณฑลชิงไห่ และสร้างอาณาจักรของตนเองขึ้น แต่ต่อมา (ค.ศ.581-618) ถูกราชวงศ์สุยยึดครองดินแดน ในสมัยราชวงศ์สุยนี้ ได้กำหนดเขตการปกครองซีไห่และเหอหยวนขึ้น

ในศตวรรษที่ 7 กลุ่มชนเผ่าถู่ฟานได้ตั้งตนเป็นรัฐอิสระขึ้น และยึดพื้นที่บริเวณมณฑลชิงไห่และทิเบตเป็นพื้นที่ในปกครอง และได้ทำการสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างเขตแดนของราชวงศ์ถังกับเขตพื้นที่ของชนชาติถู่ฟานขึ้น เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชาวฮั่นและทิเบต โดยกลุ่มชนเผ่าถูฟานได้ปกครองพื้นที่นี้เป็นเวลายาวนานมาจนถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง ต่อมาในปี 1929 สมัยราชวงศ์ชิง ได้ตั้งให้ชิงไห่มีฐานะเป็นมณฑลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยได้จัดตั้งรัฐบาลมณฑลชิงไห่ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1950

ภูมิอากาศ

เนื่องจากภูมิประเทศของมณฑลชิงไห่เป็นที่ราบสูง ภูมิอากาศจึงมีลักษณะพิเศษ 5 ประการคือ

(1) ได้รับแสงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ(2) อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ -5.7-8.5 องศาเซลเซียส(3) ปริมาณน้ำฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีน้อยกว่า 400 มิลลิเมตร(4) ฤดูฝนและฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ของทุกปีจะเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุก(5) มีภัยธรรมชาติบ่อย ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยได้แก่ อากาศแห้ง พายุลูกเห็บ พายุหิมะ และลมพัดแรง

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

มณฑลชิงไห่แบ่งการปกครองออกเป็น 6 เขต 1 พื้นที่ และ 1 เมือง ได้แก่

  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตไหเป่ย
  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตไห่หนาน
  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตหวงหนาน
  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตกั่วลั่ว
  • เขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตอวี้ซู่
  • เขตปกครองตนเองชนชาติมองโกลไห่ซี
  • พื้นที่ไห่ตง
  • นครซีหนิง ซึ่งเป็นเมืองหลวง

รูปแบบการปกครองของมณฑลชิงไห่

สำนักงานภายใต้การกำกับของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์และผู้แทนประชาชนมณฑลชิงไห่

สำนักงานคณะกรรมการ พรรคคอมมิวนิสต์มณฑล สำนักงานผู้แทนประชาชนมณฑล สำนักงานรัฐบาลมณฑล
สำนักงานทหารประจำมณฑล

โครงสร้างการแบ่งหน่วยงานของรัฐบาลมณฑลชิงไห่

คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนามณฑล คณะกรรมการเศรษฐกิจมณฑล กรมการศึกษา
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการกำกับดูแลชนกลุ่มน้อย กรมสันติบาล
กรมความมั่นคงแห่งชาติ กรมตรวจสอบ กรมการพลเรือน
กรมการยุติธรรม กรมการคลัง กรมทรัพยากรบุคคล
กรมแรงงานและสวัสดิการสังคม กรมโยธาธิการ กรมการคมนาคม
กรมการชลประทาน กรมการเกษตรและปศุสัตว์ กรมพาณิชย์
กรมการวัฒนธรรม กรมอนามัย คณะกรรมการด้านการวางแผนครอบครัวและประชากร
กรมการตรวจสอบบัญชี กรมทรัพยากรที่ดิน

หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลมณฑลชิงไห่

สำนักงานสรรพากร สำนักการรักษาสิ่งแวดล้อม สำนักงานวิทยุและโทรทัศน์
สำนักงานสถิติ สำนักงานการค้าการพาณิชย์ สำนักงานกำกับการสื่อสารมวลชน
สำนักงานป่าไม้ สำนักงานตรวจสอบคุณภาพ สำนักงานการบริหารและควบคุมสินค้าอาหารและยา
สำนักงานตรวจสอบความปลอดภัย สำนักงานการต่างประเทศ

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายโล่ว ฮุ่ยหนิง (Luo Huining)

เลขาธิการพรรคฯ

เห่า ผืง (Hao Peng)

ผู้ว่าการมณฑล

นายโล่ว ฮุ่ยหนิง (Luo Huining)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายเหริน ชิงเจีย (Ren Qingjia)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลชิงไห่ได้ที่ www.qh.gov.cn

เมืองสำคัญ

1. นครฉางชุน

นครซีหนิง

  • เมืองหลวงของมณฑลชิงไห่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
  • เป็นศูนย์กลางของมณฑลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการคมนาคม
  • มีพื้นที่ทั้งหมด 7,649 ตร.กม.
  • เป็นพื้นที่เขตเมือง 350 ตร.กม.
  • มีชนชาติต่างๆ อาศัยอยู่รวม 37 ชนชาติหลัก ได้แก่ ชาวฮั่น หุย ถู่ ทิเบต มองโกล เป็นต้น

ลักษณะภูมิประเทศของนครซีหนิงเป็นที่ราบสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 4,394 เมตร พื้นที่ในเขตเมืองมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,261 เมตร และเนื่องจากภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูง ทำให้มีอากาศเบาบาง ฤดูร้อนและฤดูหนาว อากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด

  • อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 4.9 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิสูงสุด 31 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิต่ำสุด -18 องศาเซลเซียส
  • ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี 379 มิลลิเมตร

อุตสาหกรรมหลักในนครซีหนิงคืออุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมเบาอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ อาหาร เป็นต้น

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีซีหนิง (Xining Economic and Technological Development Area)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 12.79 ตร.กม. มีระยะห่างจากใจกลางเมืองซีหนิง 5 กิโลเมตร ห่างจากสถานีรถไฟซีหนิง 4 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินซีหนิง 12 กิโลเมตร

เป็นเขตที่เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง อาทิ อุตสาหกรรมเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเคมีที่มีความเกี่ยวข้องกับทะเลสาปน้ำเค็ม (Salt Lake Chemicals) อุตสาหกรรมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง อุตสาหกรรมโทรคมนาคม อุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแปรรูปและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังมีอุตสาหกรรมพิเศษเฉพาะพื้นที่ เช่น อุตสาหกรรมที่นำทรัพยากรพืชและสัตว์จากที่ราบสูง โดยนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยาท้องถิ่นของชาวทิเบต อุตสาหกรรมอาหารท้องถิ่น เป็นต้น จนถึงปัจจุบันภายในเขตมีมูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 200 ล้านหยวน

คณะกรรมการฝ่ายบริหารประจำเขตฯ
โทรศัพท์: 86-971-8125306
โทรสาร: 86-971-8125196
อีเมล: [email protected]
เว็บไซด์: www.xnkfq.com

2. เขตใหม่เฉิงหนาน (Chengnan New Zone)

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของนครซีหนิง มีพื้นที่ทั้งหมด 30 ตร.กม. เป็นเขตที่เน้นให้เกิดการพัฒนาด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการค้าทั้งภายในและนอกประเทศ ธุรกิจการสื่อสาร การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การแปรรูปทรัพยากรที่มีความเฉพาะของเขตที่ราบสูงชิงจ้าง

3. นิคมอุตสาหกรรมกานเหอ (Ganhe Industrial Park)

ก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครซีหนิง มีพื้นที่ทั้งหมด 10 ตร.กม. ห่างจากเมืองซีหนิง 35 กิโลเมตร
เป้าหมายในการพัฒนาคือ อาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุของมณฑลชิงไห่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ พีวีซี ปุ๋ยเคมี และอุตสาหกรรมปลายน้ำที่เกี่ยวกับโลหะเป็นหลัก ปัจจุบันมีวิสาหกิจที่เข้ามาลงทุนรวมจำนวน 27 ราย

 

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางทางบก

ทางหลวง

เป็นการคมนาคมหลักของมณฑลชิงไห่ ทางหลวงหลักในมณฑลประกอบด้วยเส้นทางหลวง ซึ่งเป็น

เส้นทางจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก คือ เส้นทางหลวงสาย 109 และ 315

ทางหลวงเส้นทางจากทิศเหนือไปทิศใต้ คือ เส้นทางหลวงสาย 214 สาย 215 และ 227

เส้นทางหลวงหลักอีก 4 สาย คือ เส้นทางหลวงผิงอันถึงต้าลี่เจียซาน เส้นทางหลวงซีหนิงถึงจิ่วจื้อ เส้นทางหลวงอาไต้ถึงไส้เอ๋อหลง
และเส้นทางหลวงชิงไห่-ทิเบต ซึ่งมีระยะทาง 1,937 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างนครซีหนิงและเมืองลาซา

ทางรถไฟ

มณฑลชิงไห่มีเส้นทางรถไฟรวม 59 สาย ซึ่งมีความยาวรวม 2,200 กิโลเมตร เส้นทางรถไฟสายหลักในมณฑล ได้แก่
เส้นทางรถไฟหลานโจว-ซีหนิง (รถไฟสายหลานชิง) และชิงไห่-ทิเบต

เส้นทางรถไฟสายหลานชิง เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2502 ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจเริ่มพัฒนา เส้นทางรถไฟสายนี้จึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น รัฐบาลจีนจึงได้เริ่มโครงการขยายเส้นทางรถไฟสายหลานชิงเส้นทางที่สองและโครงการปรับปรุงให้เป็นรางรถไฟฟ้า

เมื่อเดือนเมษายน 2549 ใช้เงินลงทุนรวม 2,805 ล้านหยวน โดยโครงการขยายเส้นทางรถไฟสายหลานชิงเส้นทางที่สองได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อปี 2551 ส่วนโครงการปรับปรุงให้เป็นรางรถไฟฟ้าก็ได้เสร็จสิ้นลง และได้เปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2552

โดยรถไฟฟ้าที่นำมาใช้ให้บริการเป็นรถไฟฟ้ารางคู่

  • สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • ออกวิ่งจากสถานีเหอโข่วหนานในนครหลานโจว วิ่งไปทางทิศตะวันตก
  • ผ่านอำเภอหมินเหอ (เขตปกครองตนเองชนชาติหุย
    และชนชาติถู่ในมณฑลชิงไห่) อำเภอเล่อตู อำเภอผิงอัน
  • สิ้นสุดที่นครซีหนิง รวมเป็นระยะทาง 170 กิโลเมตร
  • ซึ่งคาดว่าจะมีศักยภาพในการขนส่งมากกว่า 80 ล้านตันต่อปี

สำหรับเส้นทางรถไฟชิงไห่-ทิเบต

  • มีจุดเริ่มต้นจากนครซีหนิงในมณฑลชิงไห่ เชื่อมต่อไปถึงเมืองโกมุท ด้วยระยะทาง 814 กิโลเมตร
  • สิ้นสุดที่กรุง ลาซาในเขตการปกครองตนเองทิเบต รวมระยะทาง 1,956 กิโลเมตร
  • เริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549

เส้นทางทางน้ำ

แม้ว่ามณฑลชิงไห่จะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน อาทิ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) แม่น้ำหวงเหอ (เหลือง) และแม่น้ำหลานชาง (โขง)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำหวงเหอ ซึ่งไหลผ่านมณฑลเป็นระยะทางกว่า 1,972 กิโลเมตร แต่ด้วยสภาพภูมิประเทศที่มีภูเขาซับซ้อน ทำให้ไม่เหมาะแก่การเดินเรือ ต่อมา ในช่วงปี 2533 รัฐบาลกลางได้เริ่มดำเนินนโยบายเร่งรัดการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกของประเทศ

ในปี 2534 รัฐบาลมณฑล ชิงไห่จึงได้เริ่มดำเนินโครงการส่งเสริมการขนส่งทางน้ำขึ้น โดยได้ทำการบุกเบิกโครงการในพื้นที่เขตท่าเรือหลงหยาง รวมทั้งอีก 3 ท่าเรือหลักคือ ท่าเรือซาโกว ท่าเรือไป๋ล่าทาน และท่าเรือชูโกว โดยปัจจุบันเส้นทางการขนส่งทางเรือภายในมณฑลมีระยะทางรวม 344.5 กิโลเมตร และเน้นการขนส่งมวลชนเป็นหลัก โดยในจำนวนเรือขนส่งขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในมณฑลชิงไห่มีทั้งหมด 96 ลำ นั้นเป็นเรือขนส่งมวลชนถึง 91 ลำ ที่เหลือเป็นเรือขนส่งสินค้าเพียง 5 ลำ

เส้นทางทางอากาศ

สนามบินในมณฑลชิงไห่มี 2 แห่ง คือ

  • สนาบินซีหนิง
  • สนามบินโกมุท

มีสายการบินที่ให้บริการกว่า 10 สายการบิน และมีเส้นทางการบินจากสนามบินซีหนิงไปยังเมืองสำคัญทั่วประเทศกว่า 20 เมือง ได้แก่

ปักกิ่ง, กว่างโจว, ซีอาน, เซี่ยงไฮ้, กว่างโจว, อุรุมฉี, ลาซา, เฉิงตู, ฉงชิ่ง, เซินเจิ้น, คุนหมิง, เสิ่นหยาง, หยินชวน, เจิ้งโจว, ฉางซา, หนานจิง, อู่ฮั่น, หังโจว, เวินโจว, ชิงต่าว, จี่หนาน เป็นต้น

 

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลชิงไห่

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 12 และเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพทางการเติบโต
  • ยอดการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ถึง 9 แสนล้านหยวน
  • มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจหมุนเวียนครองสัดส่วนร้อยละ 80 ของ GDP มณฑลชิงไห่
  • การผลติพลังงานทดแทนครองสัดส่วนร้อยละ 40 ของยอดการผลิตพลังงานทั้งหมดของชิงไห่
  • อัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 50.5
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวน 250,000 อัตราต่อปี พร้อมควบคุมอัตราการว่างงานให้ไม่เกินร้อยละ 5
  • งบประมาณของ R&D ครองสัดส่วนของ GDP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 8 โดยเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีนวัตกรรม
  • รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 8
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตร้อยละ 13
  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 11
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 4
  • รายได้ของประชากรในตัวเมืองและเขตขนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และร้อยละ 12
  • ควบคุมอัตราการว่างงานให้ไม่เกินร้อยละ 3.5

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน
  • อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด โดยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโลก
    สำหรับแร่หายากซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ
  • มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในจีนและมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.3 ของปริมาณทุ่งหญ้าทั่วประเทศจีน
    ทำให้มองโกเลียในเป็นฐานการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญของจีน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลชิงไห่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้

  • อุตสาหกรรมเคมีและถ่านหิน
  • อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
  • อุตสาหกรรมวัสดุใหม่
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปเกลือ
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปโลหะ
  • อุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ
  • อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์
  • อุตสาหกรรมเหล็กกล้า
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • อุตสาหกรรมชีวภาพ

ส่วนนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้ http://www.qh.gov.cn/dmqh/tzp/

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน