JIANGXI

มณฑลเจียงซี

ข้อมูลพื้นฐาน

ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์

มณฑลเจียงซี(江西)หรือกังไส มีชื่อย่อว่า ก้าน(赣)ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนล่าง(长江)ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ทิศตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียงและมณฑลฝูเจี้ยน ทิศใต้ติดกับมณฑลกว่างตง ทิศตะวันตกติดกับมณฑลหูหนาน ทิศเหนือติดกับมณฑลหูเป่ยและมณฑลอันฮุย

มีเนื้อที่ทั้งหมด 166,947 ตร.กม.คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมด มีภูมิประเทศเป็นภูเขาร้อยละ 36 และทิวเขาเล็กๆทอดยาวติดต่อกันร้อยละ 42 ที่เหลือเป็นที่ราบและแม่น้ำ โดยมีเทือกเขากระจายอยู่ตามแนวพรหมแดนของมณฑล

ความน่าสนใจของมณฑลเจียงซี

  • จิ่งเต๋อเจิ้น ได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งเครื่องลายครามโลก
  • นครหนานชางเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวการปฎิวัติของจีน (八一南昌起义)
  • มณฑลเจียงซีเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง 25,000 ลี้ของกองทัพแดง (红军)
  • เถิงหวังเก๋อ (滕王阁)ของนครหนานชางเป็น 1 ใน 4 ตึกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุดของจีน
  • อู้หยวน (婺源)ได้รับการขนานนามเป็น “ชนบทที่สวยที่สุดในจีน” เนื่องจากในช่วงฤดูใบไม้ผลิของทุกปี ชนบทแห่งนี้จะเต็มไปด้วยสีเหลืองของดอกพืชน้ำมัน
  • เมืองเต๋อซิ่ง (德兴)ของมณฑลเจียงซีได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งทองแดงของเอเชีย”
  • ทะเลสาบผอหยาง(鄱阳湖)เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และวัตถุดิบมากมาย จึงจัดเป็นจุดรวมทางระบบนิเวศวิทยาแหล่งใหญ่ที่สุดของมณฑล
  • อุตสาหกรรมหลักของมณฑลเจียงซี คือ 1.รถยนต์และส่วนประกอบ 2. การทำเหมืองแร่ 3.ยาชีวภาพ 4. อาหารแปรรูป 5. อิเล็กทรอนิกส์
  • มณฑลเจียงซีมีแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง คือ หลูซาน (庐山)และ ซานชิงซาน (三青山) และมีอีก 2 แห่งที่คาดว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก คือ หลงหู่ซาน (龙虎山)และกุ้ยเฟิง(龟峰)

ประชากร

มีประชากร 43.684 ล้านคน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ 38 ชนชาติ โดยประชากรกว่าร้อยละ 99 ของมณฑลมีเชื้อสายฮั่น รองลงมาคือ ชาวมุุสลิมและชาวเซอ(畲族)นอกจากนี้ ยังมีชาวจ้วง(壮族) แมนจู(满族) แม้ว(苗族) เย้า(瑶族) มองโกล(蒙古族) เป็นต้น ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยคือ 260 คนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. อัตราการเกิดร้อยละ 13.86 อัตราการตายร้อยละ 5.99 อัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 7.8

ภูมิอากาศ

อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 18 °C ช่วงเดือนมกราคมอุณหภูมิเฉลี่ี่ย 4 – 9 °C ช่วงเดือนกรกฎาคมอุณหภูมิเฉลี่ย 28 – 30 °C อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.1-42.1 °C ขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,341 – 1,940 มม.

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรป่าไม้และพืชพันธุ์

เจียงซีมีพื้นที่ที่เป็นป่าไม้ครอบคลุมถึงร้อยละ 59.7 มีพืชที่สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ประโยชน์ 119 ชนิด ไม้เศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ต้นชาน้ำมัน (ไม้ยืนต้นที่มีเมล็ดที่สามารถให้น้ำมัน) ต้นน้ำมันถง (ไม้ยืนต้นมีเมล็ดที่สามารถให้น้ำมัน เนื้อไม้มีคุณสมบัติเบาและอ่อน ใช้ทำไม้กระดานหรือลังไม้) นอกจากนี้ มีพืชพันธุ์อันหลากหลายกว่า 4,000 ชนิด และยังคงมีพันธุ์ไม้ดั้งเดิมกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ต้นอิ๋นซิ่ง ฯลฯ

ทรัพยากรสัตว์ป่า

เจียงซีมีสัตว์จำพวกปลาและนกหลากหลายพันธุ์ ล้วนแต่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงได้รับการเอาใจใส่ในเชิงอนุรักษ์และการนำมาใช้ประโยชน์ มีพันธุ์ปลาน้ำจืดกว่า 170 ชนิด โดยที่มีทะเลสาบผอ-หยาง(鄱阳湖)เป็นจุดศูนย์รวมทางระบบนิเวศวิทยาแหล่งใหญ่ที่สุดของมณฑล

ทรัพยากรแร่ธาตุ

มีแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุอยู่ในปริมาณมากและมีอยู่หลายชนิด และยังเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโลหะที่มีอยู่น้อยในดิน โลหะหายาก และโลหะมีสีของประเทศจีน ปัจจุบันนี้ มีแร่ที่ขุดค้นพบแล้วกว่า 160 ชนิด สำหรับสินแร่ที่มีการสำรวจพบปริมาณสำรองอยู่จำนวนมากมี ซึ่งมีทั้งสิ้น 89 ชนิด มีแร่ธาตุกว่า 33 ชนิดที่มีปริมาณมากติดอันดับ 1 ใน 5 ของประเทศจีน ทองแดง เงิน และยูเรเนียมมีปริมาณมากที่สุดในประเทศ ขณะที่ทังสเตนและทองคำมีปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบตะกั่วและสังกะสีเป็นจำนวนมากเช่นกัน

ที่สำคัญมณฑลเจียงซียังเป็นแหล่งแร่ทองแดงที่ใหญ่สุดในเอเชีย รวมทั้งเป็นแหล่งหลอมแร่ทองแดงที่ใหญ่สุดในประเทศ โดยมีเหมืองทองแดงเต๋อซิง(德兴铜矿)เป็นเหมืองทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและมีบริษัทหลอมทองแดงกุ้ยซี(贵溪铜冶炼公司)เป็นฐานการหลอมทองแดงที่สำคัญของประเทศ ซึ่งมีความสามารถในการผลิตถึง 4.5 แสนตัน/ปี คิดเป็นร้อยละ 67.7 ของปริมาณการผลิตของทั้งมณฑล ทั้งนี้

ทรัพยากรน้ำ

มณฑลเจียงซีมีสายน้ำทั้งสิ้น 2,400 สาย แม่น้ำก้านเจียง(赣江)แม่น้ำฝู่เหอ(抚河)แม่น้ำซิ้นเจียง(信江)แม่น้ำซิว(修河)และแม่น้ำหราว(饶河)เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุด 5 สายของมณฑล และมีแหล่งน้ำที่สำคัญอีกแห่งคือทะเลสาบผอหยาง(鄱阳湖)ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพสูง มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์และคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งนักวิชาการคาดการณ์ว่าพลังงานน้ำของทั้งมณฑลสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 6.82 ล้านวัตต์ มีปริมาณน้ำ 2,800 ลูกบาศก์เมตร/ประชากร 1 ครัวเรือน ซึ่งมากกว่าค่าประมาณการมาตรฐานของทั้งประเทศถึงร้อยละ 73 และมีพื้นที่น้ำจืด 2.5 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.3 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

มณฑลเจียงซีมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในปี พ.ศ.1276 กษัตริย์ถังสวนจง(唐玄宗)ได้ก่อ ตั้งเมืองเจียงซีขึ้นโดยมาจากชื่อเรียกของสายน้ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (江南西道)

ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ มณฑลเจียงซีคือฐานที่ตั้งสำคัญของกองกำลังคณะปฏิวัติ ในสมัยที่มีการปฏิวัติเกิดขึ้นนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้ริเริ่มปฏิบัติภารกิจสำคัญมากมายขึ้นที่นี่ ซึ่งในภายหลังได้ถูกจารึกไว้เป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของพรรค เช่น ในปี พ.ศ.2470 โจวเอินไหลและผู้นำอีกส่วนหนึ่งได้ก่อการปฏิวัติหนานชาง(八一南昌起义)ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเทศจีนเป็นอย่างสูง ทั้งนี้ยังถือเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ของกิจกรรมทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ และในปีเดียวกัน ประธานเหมาเจ๋อตุงได้ก่อตั้งกองกำลังปลดแอกขึ้น ณ มณฑลนี้ ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมประเทศจีน และการจัดการประชุมตัวแทนพรรคครั้งแรกก็เกิดขึ้น โดยการประชุมครั้งนั้นเป็นการประกาศการจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์

มีเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ เช่น เมืองหนานชาง จิ่งเต๋อเจิ้น และก้านโจว นอกจากนี้ มณฑลเจียงซียังเป็นแหล่งกำเนิดของลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธในประเทศจีน มีวัดที่มีชื่อ เสียง 5 แห่งได้แก่ วัดหลูซานตงหลิน(庐山东林寺)วัดจิ่วเจียงเหนิงเหริน(能仁寺) วัดหวินซานเจินหรู(云山真如寺)วัดจี๋อานจิ้งจวู(吉安净居寺) และวัดหลงหู่ซาน(龙虎山寺) ในสมัยก่อนโรงเรียนไป๋ลู่ต้ง(白鹿洞书院)เป็น 1 ใน 4 โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศจีน มีกวีที่มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่งเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ได้แก่ หวางอันสือ(王安石)เฉิงก่ง(曾巩) และโอวหยางซิว(欧阳修

การปกครอง

มณฑลเจียงซีประกอบด้วย 11 เมืองคือหนานชาง(南昌)จิ่วเจียง (九江) จิ่งเต๋อเจิ้น(景德镇)ผิงเซียง(萍乡)ซินหยู่(新余)จี๋อัน(吉安)อี๋ชุน(宜春)อิงถาน(鹰潭)ก้านโจว(赣州)ส้างหราว(上饶)ฝู่โจว(扶州)และมี 99 อำเภอ โดยมีหนานชางเป็นเมืองหลวงของมณฑล

ตารางแสดงระบบการปกครองของมณฑลเจียงซี
คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลเจียงซี
คณะกรรมการประจำสมัชชาผู้แทนประชาชนประจำมณฑลเจียงซี
สภาที่ปรึกษาทางการเมืองประจำมณฑลเจียงซี
ศาลสูงสุด อัยการสูงสุด รัฐบาลมณฑลเจียงซี

ผู้นำ

เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลเจียงซี ประธานสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติประจำมณฑลเจียงซี นายเฉียงเหว่ย (强卫) พ.ศ.2496 เกิดที่เมืองอู่พู่ มณฑลเจียงซู พ.ศ.2512 จบการศึกษาในระดับปริญญา และเริ่มทำงานครั้งแรก พ.ศ.2518 เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน พ.ศ.2527 ดำรงตำแหน่งรองคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์กระทรวงอุตสาหกรรมเคมีปักกิ่ง พ.ศ.2533 ดำรงตำแหน่งเลขานุการพรรคคอมมิวนิสต์และประธานคณะกรรมการประจำสมัชชาผู้แทนประชาชนประจำเขตเขาซือจิ่งซาน กรุงปักกิ่ง พ.ศ.2550 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลชิงไห่ พ.ศ.2556 ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลเจียงซี ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลเจียงซี ประธานสมัชชาผู้แทนประชาชนแห่งชาติประจำมณฑลเจียงซี และประธานกลุ่มเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลเจียงซี

นายลู่ ซินเซ่อ(鹿心社)

(ก.พ. 55 – ปัจจุบัน) ผู้ว่าการมณฑลเจียงซี พื้นเพเดิมเป็นคนอำเภอจวู่เหย่(巨野县)มณฑลซานตง เชื้อสายฮั่น เกิดเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2499 ปี 2525 จบการศึกษาสาขาชลประทานและการอนุรักษ์น้ำจาก Wuhan Institute of Hydroelectric Power มณฑลหูเป่ย 2528 เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน 2529 – 2539 ปฏิบัติงานในสำนักงานจัดการที่ดินแห่งชาติ โดยตำแหน่งสุดท้ายคือ หัวหน้าฝ่ายสำรวจและรังวัดที่ดิน (Cadastral Survey Manual Department) 2538 – 2539 รองนายกเทศมนตรีเมืองหนานทง มณฑลเจียงซู 2539 – 2541 คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำสำนักงานจัดการที่ดินแห่งชาติและรองผู้อำนวยการสำนักงานฯ 2542 – 2551 คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ 2552 – 2553 รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำกระทรวงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ 2542 – 2553 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ 2553 – 2554 รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกานซู่ พ.ค. 2554 – ปัจุบัน รองเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลเจียงซี มิ.ย. 2554 รองผู้ว่าการมณฑลเจียงซี ก.พ. 2555 ผู้ว่าการมณฑลเจียงซี

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลเหลียวหนิงที่ www.ln.gov.cn

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. หนานชาง

เป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่งในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซี เป็นเมืองหลวงของมณฑลซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,200 ปี เป็นเมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นทางการต่อสู้ของทหารจีนแดง ดังนั้นจึงได้รับการขนานนามว่า “เมืองวีรบุรุษ” อีกด้วย และเคยได้รับการจัดอันดับเป็น “เมืองศิวิไลซ์ของประเทศจีน” และ “เมืองสะอาดนำสมัยของประเทศจีน”

เมืองหนานชางเป็นเมืองที่มีการทำอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของมณฑลเจียงซี เป็นเมืองแรกของประเทศจีนที่สามารถผลิตเครื่องบินขึ้นมาเอง เป็นเมืองที่ผลิตรถไถคันแรก รถมอเตอไซต์คันแรกและมีการสร้างระบบป้องกันขีปนาวุธทางทะเลแห่งแรกของประเทศจีน หลังจากการปฏิวัติแล้วภาคอุตสาหกรรมของเมืองหนานชางได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเครื่องบิน ผลิตรถยนต์ ยาและเคมีภัณฑ์ หลอมทอง สิ่งทอ เครื่องไฟฟ้าและอื่นๆ

เมืองหนานชางเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกทะเล รัฐบาลท้องถิ่นจึงดำเนินการขอความร่วมมือในด้านการคมนาคมกับเมืองริมฝั่งทะเลที่อยู่รายรอบ เพื่อเป็นการหาลู่ทางใหม่ในการส่งเสริมเศรษฐกิจของมณฑลให้เจริญเติบโตขึ้น โดยหน่วยงานรัฐบาลเมืองหนานชางได้เสนอให้สร้างเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่ไปสู่ทางออกทะเลที่รวดเร็วและสะดวก โดยร่วมมือกับเมืองเซินเจิ้น เซี่ยเหมิน หนิงโป และเซี่ยงไฮ้ ทำให้เมืองที่อยู่ในพื้นที่ด้านในของประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางเหล่านี้และยังเป็นการเพิ่มความสะดวกในการผ่านด่านศุลกากรของเมืองท่าเรือริมฝั่งทะเล

ด้วยสาเหตุที่ว่าเมืองหนานชางมีสายน้ำหลายสายไหลผ่านจึงทำให้เมืองนี้เป็นจุดศูนย์กลางการค้าขายขนส่งทางน้ำทางภาคใต้ของจีนในสมัยโบราณ ในปัจจุบันก็เป็นศูนย์กลางการค้าของมณฑลเจียงซี โดยแหล่งเศรษฐกิจของเมืองที่สำคัญได้แก่ ศูนย์สรรพสินค้าหนานชาง ตึกหงเฉิง ซินหงเค่อหลง วอลมาร์ท เมโทร เป็นต้น

2. จิ่งเต๋อเจิ้น

เป็นเมืองที่การปกครองโดยขึ้นตรงต่อมณฑลเจียงซีโดยตรง เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดของมณฑลและยังเป็นศูนย์กลางของประเทศจีนในด้านการผลิตเครื่องลายคราม นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 4 เมืองใหญ่ในสมัยโบราณของจีน โดยเครื่องลายครามของจิ่งเต๋อเจิ้นได้ถูกบรรยายว่า “ขาวดั่งหยก ใสดั่งกระจก บางดั่งกระดาษ เสียงกังวาลดั่งระฆัง” ผลิตมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และหลังจากเปิดประเทศทางสำนักนายกรัฐมนตรีของประเทศได้ประกาศให้เป็น 1 ใน 24 เมืองสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน พร้อมกันนี้ยังประกาศให้เมืองเจียงซีเป็น “เมืองแห่งเครื่องลายคราม” ซึ่งมีนัยว่าเป็น “เมืองแห่งเครื่องลายคราม” ของโลกอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องแปลกที่เมืองนี้เติบโตและมีชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลานานจากการทำเครื่องลายครามเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว นอกจากการผลิตเครื่องลายครามแล้ว จิ่งเต๋อเจิ้นยังเป็นแหล่งผลิตธัญพืช อุตสาหกรรมไม้ การทำใบชาและปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่สำคัญของมณฑลเจียงซี โดยเฉพาะใบชาถึงแม้จะไม่มีชื่อเสียงเทียบเท่าเครื่องลายครามแต่นับว่าเป็นหน้าเป็นตาให้แก่มณฑลได้เช่นกัน

3. จิ่วเจียง

เป็นเมืองที่การปกครองโดยขึ้นตรงต่อมณฑลเจียงซีโดยตรง เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดของมณฑลและยังเป็นศูนย์กลางของประเทศจีนในด้านการผลิตเครื่องลายคราม นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 4 เมืองใหญ่ในสมัยโบราณของจีน โดยเครื่องลายครามของจิ่งเต๋อเจิ้นได้ถูกบรรยายว่า “ขาวดั่งหยก ใสดั่งกระจก บางดั่งกระดาษ เสียงกังวาลดั่งระฆัง” ผลิตมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และหลังจากเปิดประเทศทางสำนักนายกรัฐมนตรีของประเทศได้ประกาศให้เป็น 1 ใน 24 เมืองสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน พร้อมกันนี้ยังประกาศให้เมืองเจียงซีเป็น “เมืองแห่งเครื่องลายคราม” ซึ่งมีนัยว่าเป็น “เมืองแห่งเครื่องลายคราม” ของโลกอีกด้วย ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องแปลกที่เมืองนี้เติบโตและมีชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลานานจากการทำเครื่องลายครามเป็นอาชีพเพียงอย่างเดียว นอกจากการผลิตเครื่องลายครามแล้ว จิ่งเต๋อเจิ้นยังเป็นแหล่งผลิตธัญพืช อุตสาหกรรมไม้ การทำใบชาและปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่สำคัญของมณฑลเจียงซี โดยเฉพาะใบชาถึงแม้จะไม่มีชื่อเสียงเทียบเท่าเครื่องลายครามแต่นับว่าเป็นหน้าเป็นตาให้แก่มณฑลได้เช่นกัน

เขตพัฒนาเศรษฐกิจ

มณฑลเจียงซีมีเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตพัฒนาเศรษฐกิจรวมทั้งสิ้น 99 แห่งโดยแบ่งเป็นระดับ ประเทศ 4 แห่ง ทั้งนี้ในระดับมณฑลมีทั้งสิ้น 13 แห่งโดยแบ่งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เขตส่งเสริมการแปรรูปเพื่อการส่งออก

1. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงเมืองหนานชาง

ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ.2534 มีบริษัทเข้าดำเนินการทั้งสิ้น 780 บริษัท ในนี้เป็นบริษัทที่ลงทุนด้านการผลิตมากกว่า 400 บริษัท บริษัทที่มีมูลค่าการผลิตมากกว่าหนึ่งร้อยล้านหยวนมีอยู่ 22 บริษัท บริษัทที่มีมูลค่าการผลิตมากกว่าพันล้านหยวนมีอยู่ 3 บริษัท บริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์มีอยู่ 10 บริษัท

ปัจจุบันเป็นแหล่งรวมของอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ไอทีและซอฟแวร์คอมพิวเตอร์และเครื่องฉายรังสีครบวงจร ยาชีวภาพ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 90 ของวงจรการผลิตทั้งหมดที่ผลิตขึ้นภายในเขตอุตสาหกรรมแห่งนี้

2. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหนานชาง

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2535 โดยเป้าหมายคือเป็นจุดเชื่อมต่อกับเขตอุตสาหกรรมเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน เป็นฐานที่ตั้งของกลุ่มบริษัททั้งในและต่างประเทศรวมถึงบริษัทที่เน้นการขยายภาคการผลิตด้วยต้นทุนต่ำ เป็นฐานที่ตั้งของห้องวิจัยและทดลองของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นฐานการสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติและผู้ประกอบกิจการรายใหม่ทำการพัฒนากิจการ และเป็นฐานที่ตั้งสำคัญสำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา เขตพัฒนาแห่งนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลให้มักจะเกิดแนวโน้มการเจริญเติบโตที่เหนือความคาดหมาย เช่นปี พ.ศ.2545 มีการจัดอันดับเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของภาคตะวันตกของจีนโดยใช้ดัชนีทางเศรษฐกิจเป็นมาตรวัดและเขตพัฒนาแห่งนี้ถูกจัดอยู่อันดับ 3 จาก 49 เขตพัฒนาระดับประเทศของจีน นอกจากนี้ยังมี 5 รายการที่ถูกจัดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน

ปัจจุบันนี้ยังมีโครงการสร้างเขตพัฒนาขึ้น 2 แห่ง ในอาณาเขตเดียวกันโดยแบ่งอาณาบริเวณเป็นเขตศูนย์กลาง 18 ตร.กม. และขยายออกด้านข้างเป็นเขตสวนอุตสาหกรรมป๋ายสุ่ยหู(白水湖工业园) 11 ตร.กม.และเขตสวนอุุตสาหกรรมฮวงเจียหู(黄家湖生态工业园)11 ตร.กม. เขตพัฒนาได้มีการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมถึงมีการปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและได้สร้างระบบการบริหารองค์กรและการบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนชาวอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีรวมถึงฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน ฯลฯเข้ามาทำการลงทุน โดยในปัจจุบันมีรายการการลงทุนที่มีมูลค่ารวมสูงกว่าหนึ่งร้อยล้านหยวนอยู่ 28 รายการ

สินค้าสำคัญที่ผลิตในเขตพัฒนานี้ได้แก่ รถยนตร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน อุปกรณ์ไอทีและกระดาษ ทำให้เขตพัฒนานี้เป็นฐานการผลิตหลัก และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเมืองหนานชางในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเติบโตสูงขึ้น

3. เขตแปรรูปเพื่อการส่งออกเมืองจิ่วเจียง

ถูกจัดตั้งโดยการอนุมัติของสำนักนายกรัฐมนตรีจีนในปี พ.ศ.2548 เป็นเขตแปรรูปเพื่อการส่งออกแห่งแรกของมณฑลเจียงซี มีเนื้อที่ 2.81 ตร.กม.โดยภายในของเขตแปรรูปเพื่อการส่งออกแห่งนี้ได้ทำการจัดตั้งคณะกรรมการการบริหารการจัดการและด่านศุลกากร มีระบบการตรวจตราสินค้าและอุปกรณ์ ขั้นตอนการแปรรูปที่เข้มงวดและมีมาตรฐานสูง

เขตแปรรูปเพื่อการส่งออกแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจิ่วเจียง ห่างจากใจกลางเมืองจิ่วเจียงเป็นระยะทาง 9 กม. ห่างจากท่าเรือนานาชาติจิ่วเจียง 15 กม. ห่างจากสนามบินนานาชาติหนานชาง 100 กม. ห่างจากสนามบินจิ่วเจียง 14 กม. นอกจากนี้ยังมีสายรถไฟปักกิ่ง – เกาลูน(北京-九龙)และสายรถไฟอู่ฮั่น – จิ่วเจียง(武汉-九江)ตัดผ่าน และมีถนนหลวงสายหนานชาง – จิ่วเจียง(南昌-九江)และถนนหลวงสาย 105 ตัดผ่านทางด้านข้างของเขตฯ

นอกจากนี้เขตแปรรูปเพื่อการส่งออกจิ่วเจียงประกอบด้วยด่านศุลกากร กองตรวจสอบสินค้า ธนาคาร โกดังสินค้าและหน่วยงานด้านการขนส่งฯลฯ โดยอำนวยความสะดวกให้การบริการเกี่ยวกับระเบียบการการนำเข้า-ส่งออกให้แก่บริษัทที่ตั้งอยู่ภายในเขต และยังให้สิทธิพิเศษทางด้านนโยบายการจัดเก็บภาษีแก่ผู้เข้าทำการลงทุนในเขตนี้ด้วย

 

การคมนาคมและโลจิสติกส์

มณฑลเจียงซีมีระบบการคมนาคมที่สะดวกสบาย ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ เนื่องจากเป็นมณฑลเดียวในประเทศจีนที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง (长江三角洲)ซึ่งรวมถึงนครเซี่ยงไฮ้และส่วนที่ติดทะเลของมณฑลเจียงซูกับ มณฑลเจ้อเจียง เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำจูเจียง(珠江三角洲)ซึ่งเป็นเขตเรียบแนวชายฝั่งทะเลมณฑลกวางโจวที่ไปบรรจบกับฮ่องกงและมาเก๊า และเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจหมิ่นตะวันออกเฉียงใต้ (闽东南三角区)ของมณฑลฝูเจี้ยน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มณฑลเจียงซีมีการพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดเป็นระบบการคมนาคมที่ครอบคลุมและทั่วถึง

ทางบก

1. ปัจจุบัน เส้นทางหลวงในมณฑลมีความยาว 130,000 กม. โดยทางด่วนมีความยาว 1,770 กม. มีเส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจแม่น้ำจูเจียง ได้แก่ทางด่วนก้านเยว่(赣粤高速公路)และทางหลวงสาย 105 เส้นทางที่เชื่อมต่อไปยังเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจแม่น้ำแยงซีเกียง ได้แก่ ทางด่วนหู้รุ่ย(沪瑞高速公路)และทางหลวงสาย 320 เส้นทางที่เชื่อมต่อมณฑลเจียงซีและเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจหมิ่นตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ทางด่วนจิงฝู(京福高速公路)ทางหลวงชางเซี่ยรู่หมิน(昌厦入闽公路)และเส้นทางด่วนสายจิ่งเต๋อเจิ้น – อิงถาน(景德镇-鹰潭) สายอู่หนิง – จี๋อัน (武宁 – 吉安)และสายจิ่งเต๋อเจิ้น – เซิงหมี่(景德镇 – 生米) นอกจากนี้เส้นทางรถยนต์ทั้งหมดยังเชื่อมต่อกับเมืองต่างๆของมณฑลเช่น หนานชาง กั้นโจว จี๋อัน อู๋โจว อี๋ชุน ฯลฯ

2. เส้นทางรถไฟภายในมณฑลมีความยาว 2,394 กม. สามารถเชื่อมต่อมณฑลใกล้เคียง อาทิ มณฑลเจ้อเจียง มณฑลอันฮุย มณฑลฝูเจี้ยนฯลฯ มีสถานีรถไฟรองรับผู้โดยสารกว่า 200 สถานี

ปัจจุบันนี้ มีเส้นทางรถไฟที่เพิ่งก่อสร้างเสร็จ ได้แก่ สายเฉิงจี้(城际铁路) เชื่อมเมืองหนานชางและเมืองจิ่วเจียง สายเซี่ยงผู่(向莆铁路) สายเหิงฉาจี๋(衡茶吉铁路) และสายจิ๋วจิ่งฉี(九景衢铁路)คาดว่าในอนาคตจะมีการยกระดับระบบทางรถไฟของมณฑลให้มีความก้าวหน้าสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

ทางน้ำ

เส้นทางขนส่งทางน้ำ มณฑลเจียงซีมีแม่น้ำก้านเจียงและทะเลสาบผอหยางเป็นแหล่งบรรจบของเส้นทางน้ำในมณฑลและมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเส้นทางเข้าออกที่สำคัญโดยมีระยะทางรวมกว่า 5,638 กม. ท่าเทียบเรือและอู่เรือในมณฑลมี 1,468 แห่ง ทางตอนเหนือของมณฑลมีท่าเรือใหญ่ที่สุด ท่าเรือที่มีการเข้าออกของสินค้ามากกว่า 1 หมื่นตัน/ปี มีถึง 56 แห่ง ท่าเรือขนาดกลางและเล็กอีกกว่า 700 แห่ง โดยท่าเรือที่มีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเกินล้านตันมี 6 แห่งคือท่าเรือจิ่วเจียง(九江港口) ท่าเรือหนานชาง (南昌港口)ท่าเรือจี๋อัน(吉安港口) ท่าเรือพอหยาง(波阳港口)ท่าเรือกั้นโจว(赣州港口)และท่าเรือจางสู้(樟树港口) โดยท่าเรือจิ่วเจียงมีปริมาณการขนถ่ายสินค้าเกิน 6 ล้านตันต่อปี

ทางอากาศ

ปัจจุบันมีสนามบินในมณฑลทั้งสิ้น 5 แห่งได้แก่ สนามบินหนานชาง(南昌昌北国际机场)สนามบินจิ่วเจียง(九江庐山机场) สนามบินจิ่งเต๋อเจิ้น (景德镇罗家机场) สนามบินก้านโจว(赣州黄金机场) และสนามบินจี๋อัน(吉安井冈机场) และมีสนามบินที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 2 แห่ง ซึ่งสนามบินก้านโจวเป็นสนามบินแรกๆของประเทศที่ทางรัฐบาลจีนที่ได้เปิดให้เป็นสนามบินสำหรับประชาชน ในปีพ.ศ. 2539 มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่เป็นการขยายขนาดสนามบินให้เป็นมาตรฐานมากขึ้นแต่ในปีพ.ศ. 2549 มีการย้ายสนามบินก้านโจวไปอีกที่ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองก้านโจวนัก เนื่องจากว่าสนามบินเก่าไม่สามารถรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของมณฑลได้อีกต่อไป สนามบินหนานชางเป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีปริมาณการขนถ่ายสินค้ามากที่สุดของมณฑลเจียงซี มีความสะดวกมากเนื่องจากมีระยะทางห่างจากเขตเมืองหนานชางเพียง 20 นาทีและเป็นสนามบินประจำมณฑล ที่สามารถเดินทางสู่เมืองสำคัญต่างๆทั่วประเทศได้นอกจากนี้ยังมีเส้นทางบินไปยังเมืองหลักต่างๆ ในประเทศจีน ตลอดจน ฮ่องกง สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ปารีส แฟรงค์เฟิร์ต ลอสแองเจอลิส แวนคูลเวอร์ เป็นต้น รองรับผู้โดยสารประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

เศรษฐกิจ

ข้อมุลทั่วไปทางเศรษฐกิจ

ตารางแสดงดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจของมณฑลเจียงซีประจำปี 2557 

ดัชนีทางเศรษฐกิจ หน่วย มูลค่า อัตราการเปลี่ยนแปลง (%)
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP) ล้านล้านหยวน 1.57 +9.7
GDP Per Capita หยวน 34,661 +9.2
– อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ ล้านหยวน 168,370 +4.7
– อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ ล้านหยวน 838,830 +11.1
– อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ ล้านหยวน 563,660 +8.8
ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) +2.3
รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวเมือง หยวน 24,309 +9.9
รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวชนบท หยวน 10,117 +11.3
อัตราการว่างงาน 3.3
มูลค่าการค้าปลีก ล้านหยวน 512,920 +12.7
มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ล้านดอลลาร์สหรัฐ 42,783 +16.4
-มูลค่าการนำเข้า ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10,745 +25.2
-มูลค่าการส่งออก ล้านดอลลาร์สหรัฐ 32,038 +13.7
การใช้ประโยชน์จากโครงการลงทุนต่างชาติ ล้านดอลลาร์สหรัฐ 8,451 +11.9
รายรับด้านการคลัง ล้านหยวน 268,050 +13.7
มูลค่ารวมการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ล้านล้านหยวน 1.51 +17.6

แหล่งข้อมูล: รายงานการดำเนินงานของรัฐบาลมณฑลเจียงซีประจำปี 2557

ปี 2553 2554 2555 2556 2557
GDP (ล้านหยวน) 945,130 1,158,380 1,294,890 1,433,850 1,570,860
ร้อยละการเปลี่ยนแปลง 14.0 12.5 11.0 10.1 9.7

มูลค่าผลผลิตมวลรวม (GDP)

ปี 2557 ผลผลิตมวลรวม (GDP) ของมณฑลเจียงซีมีมูลค่า 1,570,860 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 9.7 ในจำนวนนี้แบ่งเป็นมูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ 168,370 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 อุตสาหกรรมทุติยภูมิ 838,830 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 อุตสาหกรรมตติยภูมิ 563,660 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 โดยสัดส่วนของมูลค่าผลผลิตที่เกิดจากอุตสาหกรรมทั้ง 3 ประเภทต่อผลผลิตมวลรวมทั้งมณฑลอยู่ที่ 10.7 : 53.4 : 35.9

รายได้

รายรับการคลังของมณฑลเจียงซีในปี 2557 มีค่ารวม 268,050 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 ในจำนวนนี้เป็นรายรับของรัฐบาลท้องถิ่น 188,150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1

รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวเมืองมีค่า 24,309 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 รายได้เฉลี่ยต่อปีของชาวชนบท 10,117 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3

CPI

ดัชนีราคาผู้บริโภคของมณฑลเจียงซีประจำปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 โดยราคาอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.7 มากที่สุดในบรรดาราคาสินค้าและบริการ 8 ประเภทที่ใช้คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค ในส่วนราคาสินค้าขายปลีกมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ราคาสินค้าอุตสาหกรรมหน้าโรงงานลดลงร้อยละ 2.2 ราคาการนำเข้าวัตถุดิบ แร่โลหะ เชื้อเพลิง และพลังงานลดลงร้อยละ 1.6 ราคาการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ราคาต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3

การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคมณฑลเจียงซี ปี 2557

รายการ เปลี่ยนแปลง(ร้อยละ)
ดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI) +2.3
อาหาร +3.7
ธัญพืช +3.0
สุรา บุหรี่และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง +0.1
เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม +2.4
เครื่องใช้ในครัวเรือนและการบริการการซ่อมแซม -0.1
การรักษาสุขภาพและของใช้ส่วนตัว +1.0
การคมนาคมและการสื่อสาร -0.3
สินค้าและบริการด้านความบันเทิง การศึกษา และวัฒนธรรม +2.8
ที่อยู่อาศัย +2.5

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร

ปี 2557 มณฑลเจียงซีมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,511,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.6 แบ่งออกเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมปฐมภูมิ 31,580 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3 การลงทุนในอุตสาหกรรมทุติยภูมิ 799,970 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 และการลงทุนในอุตสาหกรรมตติยภูมิ 636,150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1

ตารางแสดงการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของมณฑลเจียงซี ประจำปี 2557 

สาขาการลงทุน มูลค่าการลงทุน
(ล้านหยวน)
อัตราการเปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
มูลค่าการลงทุนรวม 1,467,700 +18.0
กสิกรรม ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง 31,580 +16.3
อุตสาหกรรม 793,550 +11.2
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 28,510 +13.0
อุตสาหกรรมการผลิต 725,560 +10.6
   – วัตถุดิบเคมีและเคมีภัณฑ์ 58,900 -1.5
   – การผลิตอโลหะ 81,830 +15.1
   – การแปรรูปและหลอมโลหะสีดำ 9,760 -8.7
   – การแปรรูปและหลอมโลหะมีสี 42,340 +3.7
   – การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ 59,080 +16.4
   – การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ และเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร 47,770 +16.5
การผลิตและแจกจ่ายน้ำ เชื้อเพลิง และไฟฟ้า 39,480 +21.2
วิศวกรรมและการก่อสร้าง 8,060 +5.9
การไปรษณีย์ คมนาคมขนส่ง และคลังสินค้า 69,260 +43.1
การบริการด้านซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ และการแลกเปลี่ยนข้อมูล 7,370 +52.4
กิจการค้าส่ง และค้าปลีก 68,330 +36.5
กิจการด้านอาหาร และที่พัก 25,700 -5.4
กิจการด้านการเงิน 3,370 +7.1
กิจการด้านอสังหาริมทรัพย์(บ้านและที่ดิน) 193,760 +12.4
กิจการการบริการด้านธุรกิจและการเช่าเพื่อใช้ประโยชน์ (Tenancy) 27,070 +69.0
กิจการด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ บริการด้านเทคนิค และการสำรวจด้านธรณีวิทยา 5,400 +5.4
กิจการด้านการบริหารสาธารณูปโภค สภาพแวดล้อม และชลประทาน 148,850 +44.7
กิจการด้านการบริการที่อยู่อาศัยและการซ่อมบำรุง 6,880 +0.3
การศึกษา 18,250 +3.5
กิจการด้านสุขอนามัย ประกันสังคม และสวัสดิการสังคม 10,460 +20.3
กิจการด้านความบันเทิง กีฬา และวัฒนธรรม 25,070 +75.0
กลุ่มงานด้านการบริการสังคม 21,210 +42.5

การค้าปลีก

มูลค่าการค้าปลีกของมณฑลเจียงซีในปี 2557 มีค่ารวม 512,920 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปีก่อนหน้า แบ่งเป็นมูลค่าการค้าปลีกในเขตเมือง 425,880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และมูลค่าการค้าปลีกในเขตชนบท 87,040 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7

การค้าระหว่างประเทศ

ปี 2557 มณฑลเจียงซีมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศรวม 42,783 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากปีก่อนหน้า แบ่งเป็นการส่งออก 32,038 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และการนำเข้า 10,745 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 โดยในรายละเอียดของการส่งออกพบว่า การส่งออกโดยบรรษัทข้ามชาติมีมูลค่า 6,851 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 การส่งออกโดยภาคเอกชนมีมูลค่า 22,768 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ1.0 และการส่งออกโดยรัฐวิสาหกิจมีมูลค่า 2,372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.5

ในส่วนของประเภทสินค้าส่งออกสำคัญพบว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 12,909 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 สินค้าและอุปกรณ์ไฮเทคมีมูลค่าการส่งออก 5,254 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2  นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมาการส่งออกไปยังตลาดเกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 82.1, 49.1, 28.5 และ 26.7 ตามลำดับ

การค้ากับไทย

การค้าระหว่างมณฑลเจียงซีกับประเทศไทยในปี 2557 มีมูลค่ารวม 8,960 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 แบ่งเป็นเจียงซีส่งออกไปไทย 1,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และเจียงซีนำเข้าจากไทย 7,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 38.3

ทั้งนี้ ประเภทสินค้าสำคัญที่เจียงซีส่งออกไปไทย ได้แก่ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูง เสื้อผ้า/สิ่งทอ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ ส่วนสินค้าสำคัญที่เจียงซีนำเข้าจากไทย ได้แก่ เครื่องจักรกลไฟฟ้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูง และกระจก

การลงทุนระหว่างประเทศ

ปี 2557 มณฑลเจียงซีมีการอนุมัติโครงการลงทุนจากบริษัทต่างชาติรวม 822 โครงการ และตลอดทั้งปีมีการใช้ประโยชน์จากเงินลงทุนต่างชาติที่เกิดขึ้นจริงรวม 8,451 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9

ในส่วนของการออกไปรับเหมาโครงการลงทุนในต่างประเทศพบว่า ปี 2557 วิสาหกิจของมณฑลเจียงซีออกไปรับเหมาโครงการลงทุนในต่างประเทศรวม 209 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 2,648 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.2

ภาคเกษตรกรรม

มณฑลเจียงซีมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศจีนมาเป็นเวลานาน เป็นมณฑลที่ทำการเกษตรเป็นหลักแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นการเกษตรสมัยใหม่ โดยนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต เป็นแหล่งผลิตธัญพืชรายหลักแห่งหนึ่งของประเทศ และเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของประเทศโดยมีพื้นที่ในการปลูกข้าวมากเป็นอันดับสองของประเทศจีน บริเวณพื้นที่ราบทะเลสาบผอหยาง(鄱阳湖)ได้ถูกขนานนามว่าเป็นดินแดนแห่งข้าวปลา อาหาร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ เรพซีด(เมล็ดให้น้ำมันจำพวกมัสตาร์ด) อ้อย ฝ้าย ใบชา และผลไม้ โดยมีส้มจีนผลเล็กไร้เมล็ดแห่งเมืองหนานเฟิง(南丰蜜桔)ที่ลือชื่อทั้งตลาดภายในและนอกประเทศ และยังมีส้มซันควิสที่มีชื่อเสียงในด้านการส่งออกอีกด้วย

ในปี 2557 มณฑลเจียงซีมีพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชทั้งสิ้น 3,697,300 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.2 พื้นที่เพาะปลูกพืชให้น้ำมัน 741,500 เฮกตาร์ ลดลงร้อยละ 0.2 พื้นที่เพาะปลูกฝ้าย 84,900 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และพื้นที่เพาะปลูกผัก 572,300 เฮคเตอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 โดยปีที่ผ่านมาสามารถสร้างผลผลิตธัญพืชได้ถึง 21.4 ล้านตัน สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ในส่วนของผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ มีดังนี้ เนื้อสัตว์มีปริมาณรวม 3.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 พืชและสัตว์น้ำมีปริมาณรวม 2.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 นมมีปริมาณรวม 128,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ไข่มีปริมาณรวม 578,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6

ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญของมณฑลเจียงซีประจำปี 2557

สินค้าเกษตร ปริมาณผลผลิต(ตัน) อัตราการเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ธัญพืช 21,435,000 +1.3
– ข้าว 20,415,000 +1.1
พืชน้ำมัน 1,217,000 +2.1
– เรพซีด 723,000 +2.8
ฝ้าย 134,000  +2.2
ใบยาสูบ 59,000 +16.5
ใบชา 47,000  +9.6
ผลไม้ 4,208,000 -4.7
ผัก 13,124,000 +4.4
เนื้อสัตว์ 3,552,000 +3.1
พืชและสัตว์น้ำ 2,538,000 +4.6

ภาคอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญของมณฑล 6 ประเภทหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และเครื่องบิน การหลอมแร่ทองแดง เครื่องไฟฟ้า เภสัชกรรม อาหาร และเคมีภัณฑ์

มณฑลเจียงซีเป็นแหล่งผลิตแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ ทังสเตน ถ่านหิน เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี ไนโอเบียม หินเกลือ และดินสำหรับปั้นหม้อเป็นต้น ถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผาของจิ่งเต๋อเจิ้น (กังไส) มีชื่อเสียงและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เนื่องจากชื่อภาษาอังกฤษของประเทศจีน “CHINA” ก็มีที่มาจากการที่ชาวต่างชาติได้รู้จักกับแจกันกังไสของมณฑลเจียงซีนั่นเอง จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลกด้วย นอกเหนือจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมหลักๆอื่นเช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อาหารสำเร็จรูป ทอป่าน ฝ้ายรวมถึงการผลิตงานหัตถกรรมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ได้แก่ ผ้าป่าน กล่องไม้การบูร เครื่องเคลือบ กระดาษเขียนพู่กันจีน ปลอกหมอน หัตถกรรมจากไม้ไผ่ต่างๆ เป็นต้น

ปี 2557 ภาคอุตสาหกรรมของมณฑลเจียงซีสร้างมูลค่าเพิ่มรวม 699,470 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้ิอยละ 11.2 จากปีก่อนหน้า โดยจำนวนนี้เป็นมูลค่าเพิ่มจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 247,150 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7

ปริมาณผลผลิตสินค้าสำคัญที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของ มณฑลเจียงซี ประจำปี 2557 

รายชื่อสินค้า หน่วย ปริมาณผลผลิต อัตราการเปลี่ยนแปลง
(ร้อยละ)
ทราย ตัน 1,574,000 -2.6
ผ้า ล้านเมตร 970 +21.4
กระดาษ ตัน 1,545,000 -15.3
ไฟเบอร์สังเคราะห์ ตัน 459,000 +9.4
บุหรี่ ล้านมวน 67,650 +5.9
โทรทัศน์สี เครื่อง 196,000 -58.1
ตู้เย็นขนาดครัวเรือน เครื่อง 1,095,000 +7.9
เครื่องปรับอากาศ เครื่อง 3,284,000 +2.7
ถ่านหิน ตัน 22,614,000 -5.5
น้ำมันดิบแปรรูป ตัน 4,713,000 -9.2
กำลังการจ่ายพลังงานไฟฟ้า ล้านกิโลวัตต์/ชม 78,130 -1.3
พลังงานความร้อน ล้านกิโลวัตต์/ชม 72,920 -1.6
พลังงานน้ำ ล้านกิโลวัตต์/ชม 4,530 -0.6
เหล็กดิบ ตัน 22,353,000 +3.6
ผลิตภัณฑ์เหล็ก ตัน 26,111,000 +5.5
โลหะมีสี 10 ชนิด ตัน 1,651,000 +6.5
– ทองแดง ตัน 1,306,000 +6.5
ปูนซีเมนต์ ตัน 98,036,000 +6.3
กรดกำมะถัน ตัน 3,337,000 +3.2
โซเดียมคาร์บอเนต (โซดา) ตัน 76,000 -20.7
ปุ๋ยเคมี ตัน 1,347,000 +23.0
สารเคมีทางการเกษตร ตัน 46,000 +10.1
อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้า กิโลวัตต์ 376,000 +7.6
รถยนต์ คัน 462,000 +25.4
– รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล คัน 97,000 +16.9
รถแทรคเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ เครื่อง
เตาอุตสาหกรรม แรงขับไอน้ำ ตัน/ชม. 1,216 -19.7
เครื่องกลึงโลหะ เครื่อง 5,775 +5.9
โทรศัพท์มือถือ เครื่อง 55,705,000 -3.1
ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่อง

ภาคบริการ

ธุรกิจการเงินและประกันภัย

ปี 2557 สถาบันการเงินในมณฑลเจียงซีมียอดเงินฝากรวมทั้งสิ้น 2,153,770 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดการปลอยสินเชื่อมีจำนวนรวม 1,546,610 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 และมียอดการชำระสินเชื่อรวม 325,550 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5

ในส่วนของธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์ ปีที่ผ่านมามณฑลเจียงจีมีจำนวนบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 5 แห่ง โดย ณ สิ้นปี 2557 มณฑลเจียงซีมีจำนวนบริษัทที่ได้ทำการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์รวม 32 แห่ง คิดเป็นมูลค่าการระดมทุนรวมทั้งสิ้น 6,540 ล้านหยวน มีจำนวนศูนย์บริการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์รวม 252 แห่ง มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปีรวม 2.9 ล้านล้านหยวน และมีจำนวนหน่วยบริการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures) รวม 31 แห่ง มูลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตลอดทั้งปีรวม 5.2 ล้านล้านหยวน

ธุรกิจประกันภัยมีรายได้จากเบี้ยประกันตลอดทั้งปี 40,040 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 จากปีก่อน แบ่งเป็นรายได้จากเงินประกันทรัพย์สิน 13,880 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 รายได้จากเงินประกันชีวิต 15,340 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 รายได้จากเงินประกันสุขภาพ 2,950 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.7 และรายได้จากเงินประกันอุบัติเหตุ 950 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1

ธุรกิจการท่องเที่ยว

มณฑลเจียงซีมีศักยภาพเพียงพอที่จะขยายตลาดการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติและทัศนียภาพอันสวยงาม ประกอบด้วยภูเขาและแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกัน ทำให้แหล่งท่องเที่ยวในเจียงซีมีเอกลักษณ์ดึงดูดใจ นอกจากนี้ยังถือเป็นจุดเชื่อมต่อทางด้านวัฒนธรรมของภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน ทำให้ผู้คนและสภาพแวดล้อม (บ้านเรือน การใช้ชีวิตของคนในท้องถิ่นฯลฯ) มีการผสมผสานกันเป็นแบบฉบับของตัวเอง

ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มณฑลเจียงซีได้ใช้ระบบนิเวศน์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมคอมมิวนิสต์ หรือเรียกว่า วัฒนธรรมสีแดง

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภูเขาหลูซาน(庐山)ภูเขาจิ่งกางซาน(井冈山)ภูเขาซานชิงซาน(三清山)ภูเขาหลงหู่ซาน(龙虎山)เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น ฯลฯ มีอุทยานแห่งชาติทั้งหมด 5 แห่ง เช่น ทะเลสาบผอหยาง เป็นต้น และสวนป่าไม้ระดับประเทศทั้งหมด 14 แห่ง

ปี 2557 ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวในมณฑลเจียงซีรวม 311.34 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 จากปีก่อน สร้างรายได้รวม 261,520 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 และนักท่องเที่ยวจากนอกจีนแผ่นดินใหญ่มีจำนวนรวม 1.71 ล้านคน/ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 557 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1

ปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด พ.ย. 58

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน