INNER-MONGOLIA

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน โดยจะอยู่ระหว่างเส้นลองจิจูด 97 องศา 12 ลิปดา ถึง 126 องศา 04 ลิปดาตะวันออก และละติจูด 37 องศา 24 ลิปดา ถึง 53 องศา 23 ลิปดาเหนือ

ทิศตะวันออก ทิศตะวันตกและทิศใต้มีพรมแดนติดกับมณฑลต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 8 มณฑล ได้แก่ มณฑลเฮยหลงเจียง จี๋หลิน เหลียวหนิง เหอเป่ย ซานซี ส่านซี มณฑลกานสู และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ส่วนทิศเหนือติดกับประเทศมองโกเลียและประเทศรัสเซีย

เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,183,000 ตารางกิโลเมตร โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.3 ของพื้นที่รวมทั้งประเทศ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสามรองจากเขตปกครองตนเองซินเจียง และเขตการปกครองตนเองทิเบต มีระยะทางจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกรวม 2,400 กิโลเมตร และระยะทางจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ 1,700 กิโลเมตร มีชายแดนติดกับประเทศรัสเซียและประเทศมองโกเลียคิดเป็นระยะทางกว่า 4,220 กิโลเมตร

พื้นที่ภูมิประเทศของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในประกอบด้วยพื้นที่ราบสูงร้อยละ 53.4 พื้นที่ภูเขาร้อยละ 20.9 พื้นที่เนินเขาร้อยละ 16.4 และแม่น้ำและทะเลสาปร้อยละ 0.8

พื้นที่ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในนอกจากพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้แล้วส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง พื้นที่ราบสูงที่สำคัญได้แก่

  • ที่ราบสูงถัวเปยเอ๋อ
  • ที่ราบสูงซีหลินกัวเล่อ
  • ที่ราบสูงอาลาช่าน
  • ที่ราบสูงเอ้อเอ๋อตัวซี

โดยมีความสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,000 เมตร พื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นทะเลทรายปาตาจี๋หลิน และทะเลทรายโกบีซึ่งกินอาณาบริเวณชายแดนบางส่วน

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ประสบปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การใช้พื้นที่โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลให้มองโกเลียในประสบกับปัญหาต่อเนื่องตามมา อาทิ

  • ปัญหาฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
  • ปัญหาการกัดกร่อนของลมทะเลทราย
  • ปัญหาการเหือดแห้งของลำน้ำ
  • ปัญหาการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย

ซึ่งปัญหาการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทรายนั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่ทะเลทรายได้ขยายวงกว้างออกไปครอบคลุมพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของเขตปกครองฯ ในแต่ละปี พื้นที่ทะเลทรายจะขยายกว้างออกไปโดยเฉลี่ยมากกว่า 67,000 เฮคเตอร์ การขยายตัวของพื้นที่ทะเลทรายก่อให้เกิดลมพายุทราย ซึ่งพายุทรายทำให้ลำน้ำต่าง ๆ ภายในเขตปกครองฯ ตื้นเขิน เกิดเป็นวงจรที่ส่งผลต่อความแห้งแล้งของพื้นที่ต่อไป ทั้งนี้ แม้ทางรัฐบาลได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาดังกล่าว โดยได้เริ่มดำเนินการควบคู่กับนโยบายการพัฒนาภูมิภาคตะวันตกของจีนตั้งแต่ช่วงปี 2542 แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก

ทรัพยากรสำคัญ

ที่ราบสูงเอ้อเอ๋อตัวซีซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในเป็นพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอน ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุมาก โดยเฉพาะถ่านหินและน้ำมัน

ปัจจุบัน มีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุมากกว่า 120 ชนิด เป็นทรัพยากรแร่ธาตุที่ทำการสำรวจปริมาณแล้ว 78 ชนิด ในจำนวนนี้ มี 42 ชนิดที่มีปริมาณมากจัดอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศ โดยเฉพาะถ่านหิน มีการค้นพบถ่านหินในพื้นที่ทั้งหมดกว่า 100,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีการขุดสำรวจแล้วเป็นปริมาณกว่า 240,000 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของปริมาณถ่านหินที่ผลิตได้ทั้งประเทศ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากมณฑลซานซี

นอกจากนี้ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังมีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติมาก โดยน้ำมันปิโตรเลียมคาดการณ์ว่ามีปริมาณ 2,000 – 3,000 ล้านตัน และก๊าซธรรมชาติมีประมาณ 1,000,000 ล้านตัน

ส่วนแร่โลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งประเภทโลหะที่มีสี และโลหะที่ไม่มีสี อาทิ แร่สังกะสี แร่พลุมบลัม แร่สแตนนั่ม แร่บิสมัส แร่ทองแดง แร่โมลิบดีนั่ม และแร่อลูมิเนียม เป็นต้น ล้วนมีในปริมาณมากและหลากหลายชนิด โดยในจำนวนนี้ แร่สังกะสี แร่พลุมบลัม แร่สแตนนั่ม และแร่บิสมัสมีเป็นปริมาณมากอยู่ในห้าลำดับแรกของประเทศ สำหรับแร่ฟลูออไรด์มีปริมาณมากที่สุดในประเทศ ทั้งนี้ มองโกเลียในเป็นแหล่งแร่ฟลูโอไรด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในเป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญของประเทศ มีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด 18,667,000 ตารางกิโลเมตร มากที่สุดในประเทศ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งประเทศ ทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ต้นสน และต้นเบิร์ช (Birch) เป็นต้น

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังมีทรัพยากรพลังงานลมในเขตปกครองตนเองอาลาช่าน (Alxa) เขตปกครองตนเองซีหลินกัวเล่อ (Xilingol) และภูเขาหยางซาน ซึ่งมีความเร็วลม 3.3 – 5.7 เมตรต่อวินาที สามารถผลิตพลังงานลมได้ 200 วัตต์ต่อตารางเมตร โดยมากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณกระแสลมสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้

นอกจากนี้ เขตปกครองตนเองมองโกเลียในยังมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 86,667,000 เฮคเตอร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.3 ของพื้นที่ทุ่งหญ้าทั้งประเทศ พื้นที่ทุ่งหญ้าของมองโกเลียในมีพืชกว่า 1,000 ชนิด มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการทำปศุสัตว์

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

ชาวมองโกล ได้ชื่อว่าเป็นชนชาติที่ใช้ม้าเป็นพาหนะในการต่อสู้ที่เก่งที่สุด ผู้ที่ได้รวบรวมมองโกเลียเข้าไว้ด้วยกันคือ เจงกิสข่าน หรือชื่อเดิมคือ เตมูจิน (Temujin) เกิดในตระกูลขุนศึกเมื่อปี ค.ศ.1162 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสู้รบอย่างโหดเหี้ยมระหว่างชนเผ่า

ทำให้เตมูจินต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เมื่อเตมูจินอายุได้เก้าปี บิดาของเขาถูกลอบสังหาร จึงทำให้เขาและครอบครัวต้องลี้ภัยไปออกจากพื้นที่อยู่อาศัยเดิม เตมูจินเป็นผู้มีความสามารถ โดยเมื่ออายุได้เพียงสิบกว่าปีก็สามารถใช้วิธีทางการทูตสานสัมพันธไมตรีกับชนเผ่าต่าง ๆ

ในปี ค.ศ. 1206 เตมูจินสามารถรวบรวมชาวมองโกลเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้รับการขนานนามว่า “เจงกิสข่าน” หรือ “จักรพรรดิผู้เกรียงไกร” ในปี ค.ศ. 1211 เตมูจินเริ่มเดินทัพโจมตีปักกิ่ง และได้สังหารชีวิตผู้คนกว่า 30 ล้านคน หลังจากนั้นได้เดินทัพไปทางทิศตะวันตกและเผาทำลายล้างเส้นทางสายไหม ทำให้ชื่อ “เจงกิสข่าน” ขจรไปไกลถึงตะวันตก และต่อมาได้ทำการรบกับชาวเติร์ก ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศอิรัก อิหร่าน และภาคตะวันตกของเตอร์กิสถาน ภาคเหนือของประเทศอินเดีย และปากีสถาน ประเทศรัสเซีย และดินแดนตั้งแต่อ่าวเปอร์เซียไปยังมหาสมุทรอาร์กติก

ยุคสมัยของ “เจงกิสข่าน” จบลงระหว่างการปราบกบฏในมณฑลชีเชียช่วงค.ศ. 1277 เนื่องจากเตมูจินตกจากหลังม้า และได้รับความบอบช้ำภายในจนสวรรคตในเวลาต่อมา ซึ่งการสวรรคตดังกล่าวเป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดของการขยายจักรวรรดิไปยังตะวันตก ปี ค.ศ.1911 มองโกเลียในอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศจีน ปี ค.ศ.1952 สถาปนาเมืองฮูเหอเฮ่าเท่อ (Hohhot) เป็นเมืองหลวง เขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้กำหนดให้ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันระลึกถึงชนชาติมองโกเลีย และเขตการปกครองตนเองมองโกเลียในนับเป็นเขตแรกของจีนที่ได้รับการจัดตั้งให้เป็นเขตปกครองตนเอง

ข้อมูลประชากร

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีประชากรอาศัยอยู่จำนวน 49 ชนชาติ อาทิ

  • ชนชาติฮั่น
  • ชนชาติมองโกล
  • ชนชาติหุย
  • ชนชาติแมนจู
  • ชนชาติเกาหลี
  • ชนชาติต๋าว่อเอ่อร์
  • ชนชาติเอ้อเวินเค่อ
  • ชนชาติเอ้อหลุนชุน
  • ชนชาติจ้วง
  • ชนชาติซีป๋อ
  • ชนชาติรัสเซีย
  • ชนชาติทิเบต
  • ชนชาติเหวยอู๋เอ่อร์
  • ชนชาติอี๋
  • ชนชาติปู้อี

โดยประชากรชาวฮั่นและชาวมองโกลมีจำนวนมากที่สุด สิ้นปี 2557 เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีประชากรจำนวน 25.05 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 72,000 คน อัตราการเกิดพันละ 9.31

สภาพภูมิอากาศ

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในตั้งอยู่ห่างจากมหาสมุทร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงกว้างใหญ่ ประกอบกับบางส่วนของพื้นที่มีภูเขาสกัดกั้นลมจากชายฝั่ง จึงทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมภาคพื้นทวีป มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมาก ฤดูร้อนมีระยะเวลาสั้นและอากาศร้อนรุนแรง ฤดูหนาวอากาศหนาวรุนแรง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี -1–10องศาเซลเซียส เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีปริมาณน้ำฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 50 – 450 มิลลิเมตร โดยปริมาณน้ำฝนจะมีมากในพื้นที่ตะวันออกและลดน้อยลงไล่ไปตามพื้นที่ทางทิศตะวันตก

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง.

Inner Mongolia Tourist Map

ภายในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในประกอบด้วย 3 เขตปกครองตนเอง ได้แก่

  • เขตปกครองตนเองซิ่งอัน ( Xinggan )
  • เขตปกครองตนเองซีหลินกัวเล่อ ( Xilingol )
  • เขตปกครองตนเองอาลาช่าน ( Alxa )

รวมทั้งอีก 9 เมือง ได้แก่

  • นครฮูเหอเห้าเท่อ ( Hohhot ) ซึ่งเป็นเมืองเอกของมองโกเลียใน
  • เมืองเปาโถว ( Baotou )
  • เมืองอูไห่ ( Wuhai )
  • เมืองชื่อเฟิง ( Chifeng )
  • เมืองถงเหลียว ( Tongliao )
  • เมืองเอ้อเอ๋อตัวซี ( Ordos )
  • เมืองฮูหลุนเป้ยเอ่อร์ ( Hulun Beir )
  • เมืองปาหย่านเน่าเอ๋อ (Ulaan Chab )
  • เมืองวูหลานฉาปู้ ( Baynnur )

รูปแบบการปกครองของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

หน่วยงานต่าง ๆ ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาประจำเขตปกครองตนเอง
มองโกลียใน
กรมการวัฒนธรรม
กรมพาณิชย์ สำนักงานสรรพากร
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานวิทยุและโทรทัศน์
กรมสันติบาล สำนักงานการประมง
กรมการคลัง สำนักงานการท่องเที่ยว
กรมการยุติธรรม สำนักงานการควบคุมเทคโนโลยีและคุณภาพ
กรมการศึกษา สำนักงานการรักษาสิ่งแวดล้อม
กรมทรัพยากร สำนักงานการบริหารอุตสาหกรรมและพาณิชย์
กรมสวัสดิการแรงงานและสังคม สำนักงานการบริหารและควบคุมสินค้าอาหารและยา
กรมการคมนาคม คณะกรรมการด้านการวางแผนครอบครัวและประชากร
กรมการชลประทาน สำนักงานธัญพืช
กรมการป่าไม้ สำนักงานการต่างประเทศ
กรมการสาธารณสุข สำนักงานกฎหมายแห่งรัฐบาลประชาชนเขตปกครองตนเอง
มองโกเลียใน
กรมการตรวจสอบบัญชี สำนักงานการกีฬา
กรมการเกษตรและปศุสัตว์ คณะกรรมการการศาสนาแห่งชนกลุ่มน้อย
กรมโยธาธิการ สำนักงานอุตสาหกรรมการสื่อสาร
กรมการพลเรือน คณะกรรมการบริหารและตรวจตราทรัพย์สินแห่งชาติ

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายหวัง จุน (Wang Jun)

เลขาธิการพรรคฯ

นายปาเท่อร์ (Bateer)

ประธานเขต ฯ

นายหวัง จุน (Wang Jun)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายเหริน ย่าผิง (Ren Yaping)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ได้ที่ http://www.nmg.gov.cn/

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. นครฮูเหอเห้าเท่อ (Hohhot)

นครฮูเหอเห้าเท่อเป็นเมืองเอกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ได้รับขนานนามว่า “เมืองแห่งสีเขียว” โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของเขตฯ ในอดีตเป็นเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหม

นครฮูเหอเห้าเท่อมีพื้นที่ 17,000 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เขตเมือง 149 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร 2,580,000 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองมีจำนวนมากกว่า 1,500,000 คน โดยมีประชากรชนชาติมองโกลอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สุด นอกนั้นเป็นชนชาติฮั่น แมนจู หุย เกาหลี และอื่น ๆ รวมทั้งหมด 36 ชนชาติ

นครฮูเหอเห้าเท่อแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขต และ 4 อำเภอ ได้แก่
เขตเมืองใหม่ เขตไส้หั่น เขตหยู่ฉวน เขตหุยหมิน อำเภอหวู่ชวน อำเภอชิงสุ่ยเหอ อำเภอเหอหลินเก๋อเอ๋อ และอำเภอโทวเค่อโทว
นอกจากพื้นที่ 4 เขต และ 4 อำเภอดังกล่าวแล้ว ยังมีพื้นที่ของเขตชนชาติถู่โม่ฉือโจ่วด้วย

นครฮูเหอเห้าเท่อเป็นเมืองสำคัญในอันดับต้น ๆ ของประเทศจีนในด้านการทำฟาร์มปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงวัว แกะ และแพะ นอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงสัตว์ประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เป็ด ห่าน กวาง และกระต่าย

2. เมืองเปาโถว (Baotou)

เมืองเปาโถวเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งและเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน เมืองเปาโถวได้รับการจัดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก โดยเป็นแหล่งผลิตเหล็กที่สำคัญของมองโกเลียใน และเป็นแหล่งแร่เหล็กแหล่งใหม่ของประเทศจีนทางตอนเหนือ

เมืองเปาโถวตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาหยินซานและเทียนซานซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญของมองโกเลียใน ภูเขาหยินซานและเทียนซานอุดมไปด้วยแร่โลหะและแร่อโลหะมากกว่า 100 ชนิด รวมทั้งยังมีถ่านหินอีกเป็นปริมาณมาก ซึ่งทำให้เมืองเปาโถวและเมืองรอบข้างเป็นแหล่งผลิตถ่านหิน โดยมีปริมาณการผลิตมากกว่าร้อยละ 25 ของปริมาณการผลิตถ่านหินทั่วประเทศ

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีฮูเหอเห้าเท่อ ( Hohhot Economic and Technological Development Zone)

เป็น 1 ใน 49 เขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2543 มีระยะห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ 500 กิโลเมตร และระยะห่างจากท่าเรือเทียนจิน 800 กิโลเมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 6 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 350 – 500 มิลลิเมตร

ภายในเขตพัฒนาฯ ประกอบด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหรูยี่ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจินจินชวน เน้นการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมไอที อุตสาหกรรมยาชีวภาพ อุตสาหกรรมวัสดุสมัยใหม่ อุตสาหกรรมการสกัดและแปรรูปทองคำและเงิน อุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม และอุตสาหกรรมอาหารปลอดสารพิษ

นอกจากนี้ เขตนี้ยังมีจุดเด่นคือ เป็นฐานอุตสาหกรรมยาระดับประเทศ และเป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงด้วย

ในเขตนี้มีการลงทุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน อาทิ

  • บริษัท TCL Corporation
  • บริษัท Skyworth
  • บริษัท ShuangQi Pharmaceutical Co.,Ltd
  • บริษัท Inner Mongolia Grand Pharmaceutical Co.,Ltd
  • บริษัท Inner Mongolia Saibeixing Beer

นอกจากนี้แล้ว เมืองฮูเหอยังมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจอื่น ๆ อีก 9 แห่ง ได้แก่

  1. เขตแปรรูปเพื่อการส่งออกฮูเหอเห้าเท่อ ( Hohhot Export Processing Zone )
  2. เขตเศรษฐกิจเชิ่งเล่อ (Shengle Economic Park )
  3. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจินเฉียว (Jinqiao Economic and Technological Development Zone )
  4. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจินซาน (Jinshan Economic and Technological Development Zone)
  5. เขตอุตสาหกรรมทัวเตี้ยน (Tuodian Industry Zone ) ,
  6. เขตนิคมอุตสาหกรรมอวี้หลง (Yulong Industry Park )
  7. เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหงเชิ่ง ( Hongsheng Science and Technology Zone)
  8. เขตอุตสาหกรรมจินไห่ ( Jinhai Industry Zone)
  9. เขตอุตสาหกรรมพลังงานสูงหวู่ชวน ( Wuchuan High – energy Industry Zone)

 

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางทางบก

ปี 2557 เขตปกครองตนเองมองโกเลียในได้ลงทุนก่อสร้างทางหลวง 66,100 ล้านหยวน เส้นทางหลวงของเขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีความยาวมากกว่า 170,000 กิโลเมตร โดยมีทางด่วน 4,237 กิโลเมตร

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีเส้นทางรถไฟสายหลัก 14 สาย เส้นทางรถไฟสายรอง 12 สาย และเส้นทางรถไฟท้องถิ่นอีก 5 สายที่เชื่อมต่อกับมณฑลอื่นทั่วประเทศ ในปี 2557 เส้นทางรถไฟมีระยะทางรวมกันทั้งหมดมากกว่า 12,000 กิโลเมตร โดยมี

  • เส้นทางปักกิ่ง-เปาโถว
  • เส้นทางเปาโถว-หลานโจว
  • เส้นทางปักกิ่ง-ทงฮั้วเชื่อมระหว่างตะวันออกและตะวันตก

เมืองเอ้อเหลียนเห้าฉือ (Erenhot) เป็นจุดชายแดนที่สำคัญที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางรถไฟมองโกเลียซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งระหว่างประเทศมองโกเลียและประเทศจีน เส้นทางรถไฟมองโกเลียเชื่อมระหว่างกรุงปักกิ่งและอูหลานปาทัว (Ulan Bator) ของประเทศมองโกเลีย ก่อนที่จะเชื่อมเส้นทางต่อไปยังประเทศรัสเซีย และเปลี่ยนเส้นทางรถไฟต่อไปยังไซบีเรีย เส้นทางรถไฟมองโกเลียนับเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่เชื่อมฝั่งตะวันออก (กรุงปักกิ่ง) กับฝั่งตะวันตกของโลกซึ่งอยู่ห่างกันด้วยระยะทางนับพันกิโลเมตร

เส้นทางขนส่งทางอากาศ

เขตปกครองตนเองมองโกเลียในมีสนามบินทั้งหมด 13 แห่ง ได้แก่

  • สนามบินฮูเหอเห้าเท่อไป่ถา (Huhehaote Baita airport)
  • สนามบินเปาโถว ( Baotou airport)
  • สนามบินชื่อเฟิง (Chifeng airport)
  • สนามบินไห่ลาเอ๋อ (Hailaer airport)
  • สนามบินซีหลินเฮาเท่อ (Xilinhaote airport)
  • สนามบินูอูหลานเฮ้าเท่อ (Wulanhaote airport)
  • สนามบินทงเหลียว (Tongliao airport)
  • สนามบินเอ้อเหลียนเฮ่าเท่อ(Erenhot)
  • สนามบินหม่านโจวหลี่(แมนจูเรีย)
  • สนามบินเอ้อเอ่อตัวซือ(Ordos)
  • สนามบินอูห่าย(wuhai)
  • สนามบินทุกแห่งมีเที่ยวบินไปยังกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว

ท่าอากาศยานนานาชาติไป๋ถ่านครฮูเหอเห้าเท่อก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2501 ตั้งอยู่ห่างจากนครฮูเหอเห่เท่อ 14.3 กิโลเมตร อาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคน

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 (ค.ศ. 2011 – 2015)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 12 และเพิ่มประสิทธิผลและคุณภาพทางการเติบโต
  • ยอดการค้าสินค้าปลีกอุปโภคบริโภคเติบโตเฉลี่ยแล้วร้อยละ 18 ต่อปี
  • รายได้ของประชากรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยแล้วร้อยละ 12 ต่อปี
  • เร่งส่งเสริมการพัฒนาของธุรกิจบริการ พัฒนาให้ธุรกิจบริการครองสัดส่วนของ GDP ร้อยละ 68 และร้อยละ 40
  • อัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวน 250,000 อัตราต่อปี พร้อมควบคุมอัตราการว่างงานให้ไม่เกินร้อยละ 4.2
  • งบประมาณของ R&D ครองสัดส่วนของ GDP ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1.5

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2015

  • GDP เติบโตกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 8 โดยเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีนวัตกรรม
  • รายได้ทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 6
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตร้อยละ 13
  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 11
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 3
  • รายได้ของประชากรในตัวเมืองและเขตขนบทเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 และร้อยละ 10
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวน 250,000 อัตรา

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน
  • อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด โดยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของโลกสำหรับแร่หายากซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ
  • มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในจีนและมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.3 ของปริมาณทุ่งหญ้าทั่วประเทศจีน ทำให้มองโกเลียในเป็นฐานการเกษตรและปศุสัตว์ที่สำคัญของจีน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

นโยบายส่งเสริมการลงทุนรัฐบาลจี๋หลินให้ความสำคัญในการส่งเสริมบริษัทต่างประเทศลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้

  • อุตสาหกรรมการก่อสร้างระบบสาธารณะและอุตสาหกรรมการพัฒนาทรัพยากร
  • ธุรกิจการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัทที่มีอยู่แล้ว
  • อุตสาหกรรมหลักและอุตสาหกรรมที่มีความได้เปรียบของมณฑลจี๋หลิน
  • อุตสาหกรรมที่ใช้เงินทุนและเทคโนโลยีมาก

ส่วนนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้ http://www.jl.gov.cn/tzjl/tzzc/201103/t20110331_970005.html

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน