Hong Kong Special Administrative Region

เขตบริหารพิเศษฮ่องกง

s

ที่ตั้งและพื้นที่

เขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ประกอบด้วย (1) เกาะฮ่องกง Hong Kong Island (2) เกาะลันเตา Lantau Island (3) คาบสมุทรเกาลูน Kowloon Peninsula และ (4) เขตดินแดนใหม่ New Territories รวมถึงเกาะเล็ก ๆ อีก 261 เกาะรอบนอก โดยมีอ่าวน้ำลึกอยู่ระหว่างเกาะฮ่องกงและคาบสมุทรเกาลูน ชื่ออ่าววิคตอเรีย Victoria Harbour

  • รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 1,114.57 ตารางกิโลเมตร
  • ประมาณ 40% ของพื้นที่เป็นอุทยานและพื้นที่พิเศษ

สภาพภูมิอากาศ

ฮ่องกงมีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อน (subtropical climate) โดยช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น ช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน อากาศจะสบายแต่มีความชื้น ช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ความชื้นสูงและมีฝนตก ตลอดจนอาจได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนหรือพายุไต้ฝุ่นในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม จะเริ่มมีสภาพอากาศหนาวเย็นและแห้ง

  • มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปี 2,431.2 มิลลิเมตร
  • เดือนมิถุนายนและสิงหาคมมีสภาพอากาศที่ชุ่มชื้นและมีฝนตกมากที่สุด
  • เดือนมกราคมและธันวาคมมีความหนาวเย็นและเป็นเดือนที่แห้งที่สุด

ประชากร

ในกลางปี 2565 ฮ่องกงมีประชากรประมาณ 7,350,000 คน โดยประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 91.6 เป็นคนจีน

  • มีความหนาแน่นประชากรที่ 6,740 ต่อตารางกิโลเมต
  • อัตราการเกิดอย่างหยาบที่ 4.4 ต่อ 1,000
  • ในปี 2564 ประชากรฮ่องกงประกอบด้วยบุคคลสัญชาติฟิลิปปินส์ 203,359 คน สัญชาติอินโดนีเซีย 145,754 คน สัญชาติไทย 13,838 คน และอื่นๆ รวมทั้งหมด 7,413,070 คน

ภาษา

ภาษาจีนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของฮ่องกง โดยภาครัฐและภาคธุรกิจใช้ภาษาอังกฤษอย่างทั่วถึง โดยมีประชากรจำนวนไม่น้อยที่สามารถพูดได้สามภาษาหลัก ได้แก่ ภาษากวางตุ้ง ภาษาจีนกลาง และภาษาอังกฤษ

โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง

ฮ่องกงเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรซึ่งได้ทำสัญญาเช่าฮ่องกงและพื้นที่อื่นเพิ่มเติมจากจีนเป็นเวลานานถึง 156 ปีและได้กลับคืนสู่การปกครองของจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 สหราชอาณาจักรได้วางโครงสร้างในด้านต่างๆ ให้กับฮ่องกง โดยเฉพาะระบบกฎหมาย ระบบการคมนาคม ระบบราชการ และระบบการศึกษา ฮ่องกงจึงมีวัฒนธรรมแบบตะวันออกผสมตะวันตก และมีค่านิยมที่หยั่งรากลึกในเรื่องการเคารพกฎหมาย สิทธิส่วนบุคคล หน้าที่พลเมืองที่ดี และการต่อต้านการคอรัปชั่น

ตามที่ระบุในกฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง (Basic Law) ฮ่องกง เป็นเขตบริหารพิเศษของประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 โดยกฎหมายนี้ระบุหลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ (One Country, Two Systems)” “การบริหารฮ่องกงโดยชาวฮ่องกง (Hong Kong people administering Hong Kong)” และให้อิสระแก่ฮ่องกงอย่างมาก (high degree of autonomy) ในการบริหารบ้านเมือง โดยภายใต้หลักการดังกล่าว ฮ่องกงธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจ กฎหมาย และสังคมในปัจจุบันเป็นเวลาอีก 50 ปี ยกเว้นด้านการต่างประเทศและด้านการทหาร ซึ่งรัฐบาลจีนเป็นผู้ดูแล

คณะผู้บริหาร

ผู้บริหารสูงสุด

นาย John LEE Ka-chiu

ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง (Chief Executive)
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565

Secretaries of Departments

นาย Erick CHAN Kwok-Ki

Chief Secretary for Administration

นาย Paul CHAN Mo-po

Financial Secretary

นาย Paul LAM Ting-Kwok

Secretary for Justice

Deputy Secretaries of Departments

นาย Warner CHEUK Wing-hing

Deputy Chief Secretary for Administration

นาย Michael WONG Wai-lun

Deputy Financial Secretary

นาย Horace CHEUNG Kwok-kwan

Deputy Secretary for Justice

Directors of Bureaux

นาย Kevin YEUNG Yun-hung

Secretary for Culture, Sports and Tourism

นาย Erick TSANG Kwok-wai

Secretary for Constitutional and Mainland Affairs

นาย Christopher HUI Ching-yu

Secretary for Financial Services and the Treasury

นาย Chris TANG Ping-keung

Secretary for Security

นาย TSE Chin-wan

Secretary for Environment and Ecology

นาย Algernon YAU Ying-wah

Secretary for Commerce and Economic Development

ศ. LO Chung-mau

Secretary for Health

นาย LAM Sai-hung

Secretary for Transport and Logistics

นางสาว Bernadette LINN Hon-ho

Secretary for Development

นางสาว Winnie HO Wing-yin

Secretary for Housing

นาง Ingrid YEUNG HO Poi-yan

Secretary for the Civil Service

Dr. CHOI Yuk-lin

Secretary for Education

ศ. SUN Dong

Secretary for Innovation, Technology and Industry

นางสาว Alice MAK Mei-kuen

Secretary for Home and Youth Affairs

นาย Chris SUN Yuk-han

Secretary for Labour and Welfare

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

ฮ่องกงประกอบไปด้วยเขตบริหารงานทั้งหมด 18 เขต ดังนี้

พื้นที่ เขต
เขตดินแดนใหม่
(New Territories 新界)
1. Islands 離島區

เขต Islands มีพื้นที่ประมาณ 180.12 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 20 เกาะ โดยเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ คือ Lantau Island, Lamma Island และ Cheung Chau มีประชากรทั้งสิ้น 185,300 คน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ Tung Chung New Town

เขต Islands เป็นเขตที่มีชื่อเสียงด้านบ้านพักตากอากาศและภัตตาคารอาหารทะเล สถานที่สำคัญ ได้แก่ Cheung Sha Beach, Giant Buddha in Po Lin Monastery, AsiaWorld-Expo, Tai O Fishing Village และ Hong Kong Disneyland

2. Kwai Tsing 葵青區

เขต Kwai Tsing ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 23.34 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 495,800 คน

เขต Kwai Tsing เป็นเขตอุตสาหกรรมหลักของฮ่องกง และเป็นที่ตั้งของท่าเรือคอนเทนเนอร์ Kwai Tsing มีบทบาทสำคัญในภาคการขนส่งสินค้าของฮ่องกง

3. North 北區

เขต North ตั้งอยู่เหนือสุดของฮ่องกง มีพื้นที่ 136.51 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 309,600 คน

เขต North มีอาณาเขตติดกับเมืองเซินเจิ้นของจีนโดยมีแม่น้ำขวางกั้น จึงเป็นเขตเชื่อมต่อที่สำคัญระหว่างฮ่องกงกับเมืองเซินเจิ้นและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในด้านต่าง ๆ ระหว่างฮ่องกงกับจีน

4. Sai Kung 西貢區

เขต Sai Kung มีพื้นที่ประมาณ 136.34 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 489,000 คน

เขต Sai Kung เป็นเขตที่มีชื่อเสียงด้านการชมทัศนียภาพทางธรรมชาติสำหรับทั้งชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังขึ้นชื่อด้านภัตตาคารอาหารทะเล สถานที่สำคัญ ได้แก่ Hong Kong University of Science and Technology

5. Sha Tin 沙田區

เขต Sha Tin มีพื้นที่ประมาณ 69.27 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 692,800 คน

เขต Sha Tin เป็นเขตใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชน และมีเขตอุตสาหกรรมเบา 4 แห่ง ได้แก่ Tai Wai, Fo Tan, Siu Lek Yuen และ Shek Mun เขต Sha Tin มีเส้นทางสำหรับขี่จักรยานโดยเฉพาะ และเป็นที่นิยมสำหรับทั้งชาวท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว

6. Tai Po 大埔區

เขต Tai Po ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 148.18 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 316,500 คน

เขต Tai Po เป็นเขตที่มีการผสมผสานระหว่างหมู่บ้านชนบทกับเขตเมืองที่พัฒนาแล้ว โดยเขตเมืองจะมีห้างสรรพสินค้าหลายแห่งและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคบริการ

7. Tsuen Wan 荃灣區

เขต Tseun Wan เป็นพื้นที่ New Territories ที่ได้รับการพัฒนาเป็นแห่งแรกของฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 62.62 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 320,000 คน

เขต Tsuen Wan มีอาคารพาณิชย์เป็นจำนวนมาก แต่บางพื้นที่ในเขตยังคงเป็นชนบท สถานที่สำคัญ ได้แก่ วัด Yuen Yuen, Western Monastery และ Chuk Lam Sim Yuen

8. Tuen Mun 屯門區

เขต Tuen Mun ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 86.59 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 495,000 คน

เขต Tuen Mun เป็นหนึ่งในเขตแรก ๆ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองใหม่ ส่งผลให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากจำนวน 20,000 คนในปี ค.ศ. 1960 เป็นจำนวน 495,000 คนในปัจจุบัน สถานที่สำคัญ ได้แก่ Lingnan University

9. Yuen Long 元朗區

เขต Yuen Long ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ New Territories มีพื้นที่ประมาณ 138.56 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 668,100 คน

แม้จะมีการพัฒนาเขต Yuen Long ให้เป็นเขตเมืองอย่างรวดเร็ว แต่วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมบางอย่างยังคงอยู่ อาทิ Tin Hau Festival นอกจากนี้ Yuen Long ยังมีชื่อเสียงด้านสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ อาทิ Hong Kong Wetland Park

เกาลูน
(Kowloon 九龍)
10. Kowloon City 九龍城區

เขต Kowloon City มีพื้นที่ประมาณ 10.02 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 410,600 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบ้านพักเอกชน

พื้นที่ในเขตแบ่งเป็นส่วนการค้าและอุตสาหกรรม และมีโรงเรียนมากถึงกว่า 200 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist University และ Open University of Hong Kong นอกจากนี้ เขต Kowloon City ยังเป็นเขตที่มีชุมชนไทยตั้งอยู่ด้วย

11. Kwun Tong 觀塘區

เขต Kwun Tong ตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ประมาณ 11.28 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 673,200 คน

เขต Kwun Tong เป็นหนึ่งในเขตเมืองที่มีการพัฒนาเป็นอันดับแรก ๆ ของฮ่องกง เนื่องจากจำนวนประชากรในเขตเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อุปสงค์ด้านที่พักและบริการด้านการแพทย์เพิ่มขึ้นด้วย รัฐบาลจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาเขตชุมชนเก่าและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ การก่อสร้าง/บูรณะสถานศึกษา สถานพยาบาล และสนามกีฬากลางแจ้ง ทำให้ปัจจุบันประชาชนในเขต Kwun Tong มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

12. Sham Shui Po 深水埗區

เขต Sham Shui Po ตั้งอยู่ตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ประมาณ 9.36 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 431,100 คน ประชากร มีรายรับเฉลี่ยค่อนข้างต่ำ และส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ

เขต Sham Shui Po เป็นเขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่มีการพัฒนาเป็นลำดับแรก ๆ ในฮ่องกง ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จะย้ายไปตั้งในจีนแล้ว แต่เขต Sham Shui Po ยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าส่งสินค้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าและของเบ็ดเตล็ด นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์กลางจำหน่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย

13. Wong Tai Sin 黃大仙區

เขต Wong Tai Sin ตั้งอยู่ทางตะวันออกของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ 9.3 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 406,800 คน

เขต Wong Tai Sin เป็นเขตที่มีบ้านพักรัฐบาลค่อนข้างมาก (ร้อยละ 85 ของประชากรในเขตพักอยู่ในบ้านพักรัฐบาล) สถานที่สำคัญในเขต Wong Tai Sin ได้แก่ วัด Wong Tai Sin Temple ซึ่งเป็นวัดเต๋าเพียงแห่งเดียวในฮ่องกง และสำนักชี Chi Lin

14. Yau Tsim Mong 油尖旺區

เขต YTM ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาลูน มีพื้นที่ 6.99 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 310,600 คน

เขต YTM เป็นเขตที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น และมีนักท่องเที่ยวค่อนข้างเยอะ เนื่องจากมีโรงแรมและห้างสรรพสินค้าตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นศูนย์กลางการค้าปลีกและจับจ่ายใช้สอยของคนท้องถิ่นด้วย สถานที่สำคัญในเขต YTM ได้แก่ Hong Kong Cultural Centre, Hong Kong Museum of Art, Hong Kong Space Museum, Hong Kong Science Museum และ Hong Kong Museum of History

เกาะฮ่องกง
(Hong Kong Island 香港島)
15. Central and Western 中西區

เขต Central and Western มีพื้นที่ประมาณ 12.55 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 236,000 คน

เขต Central and Western เป็นเขตที่มีการพัฒนาเป็นอันดับแรก ๆ ของฮ่องกง โดยปัจจุบันนับเป็นเขตใจกลางเมืองของฮ่องกง ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน กฎหมาย และการเมือง

เขตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง อาทิ อาคารสภานิติบัญญัติเก่า ทำเนียบรัฐบาล และศาลสูง นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ อาทิ สำนักงานใหญ่ของบริษัททางการเงิน สถานกงสุลใหญ่ของประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานราชการของรัฐบาลฮ่องกง

16. Eastern 東區

เขต Eastern ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 18.13 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 529,600 คน

สถานที่สำคัญในเขต ได้แก่ โครงการพัฒนาที่พักอาศัยและห้างสรรพสินค้า Taikoo Shing และ Hong Kong Museum of Coastal Defence

17. Southern 南區

เขต Southern ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 39.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 263,300 คน

เขต Southern มีอาณาเขตติด Pacific Ocean และมีชายหาดซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างมาก อาทิ ชายหาด Repulse Bay, Shek O และ Stanley

18. Wan Chai 灣仔區

เขต Wan Chai ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮ่องกง มีพื้นที่ประมาณ 10.64 ตารางกิโลเมตร มีประชากรจำนวน 166,700 คน

ในอดีตพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นหมู่บ้านชาวประมง เขต Wan Chai จึงนับเป็นอีกเขตหนึ่งที่มีความเก่าแก่และเต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมดั้งเดิม แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ/การจัดแสดงสินค้า/การท่องเที่ยว/กีฬาแล้วก็ตาม โดยสถานที่สำคัญ ได้แก่ Hong Kong Convention and Exhibition Centre

เส้นทางถนน

ในปี 2566 ฮ่องกงมีเส้นทางถนนทั้งหมด 2,239 กิโลเมตร โดยเป็นถนนลอดอุโมงค์ 21 สายและสะพานหลัก 1,467 สะพาน ฮ่องกงมียานพาหนะที่จดทะเบียนจำนวน 815,000 คัน ทั้งนี้ แม้ว่าการจราจรในเขตใจกลางเมืองบางแห่งจะค่อนข้างหนาแน่น แต่สภาพการจราจรายังคงลื่นไหลอย่างต่อเนื่อง แม้จะเป็นช่วงเวลาเร่งด่วน เนื่องจากฮ่องกงมีโครงข่ายการขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ

เส้นทางรถไฟ

ระบบรถไฟขนส่งมวลชน (Mass Transit Railway : MTR) เป็นระบบขนส่งที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ประกอบด้วยเส้นทาง 9 สาย มีความยาวทั้งสิ้น 271 กิโลเมตร และมีสถานีกว่า 90 สถานี นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยบริการเส้นทาง Airport Express จากเขต Hong Kong ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง โดยมีระยะทาง 35.2 กิโลเมตร และบริการ Light Rail ที่มีระยะทาง 36.2 กิโลเมตรและสถานีต่าง ๆ จำนวน 68 สถานี ให้บริการพื้นที่ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของ New Territories

ส่วนรถไฟความเร็วสูงกว่างโจว-เซินเจิ้น-ฮ่องกง (Guangzhou-Shenzhen-Hong Kong Express Rail Link) มีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสถานี Hong Kong West Kowloon ในตัวเมืองฮ่องกงและสถานีต่างๆ จำนวน 66 สถานีในจีน

เส้นทางการบิน

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (Hong Kong International Airport : HKIA) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฮ่องกง เป็นท่าอากาศยานที่มีการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารหนาแน่นมากในโลก โดยมีอาคารผู้โดยสาร 2 อาคาร และมีทางวิ่ง 3 ทาง

ในปี 2565 รองรับผู้โดยสารจำนวน 40 ล้านคน และสินค้าจำนวน 4.3 ล้านตัน โดยมีเที่ยวบินตรงระหว่างฮ่องกง – กรุงเทพฯ เฉลี่ยวันละกว่า 10 เที่ยวบิน จากสายการบิน 7 บริษัท ได้แก่ Thai Airways (TG) Cathay Pacific (CX) Hong Kong Airlines (HX) Air Asia (FD) Greater Bay Airlines (HB) Emirates Airlines (EK) และ Ethiopian Airlines (ET)

ตัวเลขสถิติภาพรวม

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

ปี 2553
ปี 2554
ปี 2555
ประชากร (ล้านคน) 7.02 7.07 7.17
GDP (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 223.3 249.4 262.8
Real GDP Growth (ร้อยละ) 7.1 5.0 1.4
GDP per Capita (ดอลลาร์สหรัฐ) 31,800 34,400 36,800
อัตราเงินเฟ้อ (ร้อยละ) 2.4 5.3 4.1
อัตราการว่างงาน (ร้อยละ) 4.3 3.4 3.4

GDP / สัดส่วนทางอุตสาหกรรม

  • อุตสาหกรรมภาคบริการเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฮ่องกง โดยครองสัดส่วนร้อยละ 93.1 ของมูลค่า GDP ของฮ่องกง (ปี 2554) และครองสัดส่วนร้อยละ 88.4 ในตลาดแรงงานฮ่องกง (ไตรมาสที่ 1-3 ปี 2555) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจีนส่งผลให้อุตสาหกรรมภาคบริการของฮ่องกงยังมีศักยภาพในการพัฒนาได้อีกมาก รวมถึงจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคบริการของจีน โดยฮ่องกงได้ตั้งเป้าว่า จะเพิ่มสัดส่วน GDP ที่มาจากภาคบริการอีกร้อยละ 4 ภายในปี 2558
  • สำหรับในปี 2556 ฮ่องกงจะมุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการเป็นศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนศูนย์กลางการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียโดยการเพิ่มความแข็งแกร่งแก่อุตสาหกรรมหลัก พัฒนาอุตสาหกรรมสาขาใหม่ ยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนาทรัพยากรบุคคล

ตารางมูลค่า GDP แยกตามอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ

สาขาอุตสาหกรรม
ปี 2554 (HK$ million)
ภาคเกษตรกรรม 885
ภาคการผลิต (Manufacturing) 30,633
ค่าน้ำ / ไฟ / แก๊ส / การบริหารจัดการ 34,916
ภาคการก่อสร้าง 61,283
ภาคบริการ (รวม) 1,695,430
– นำเข้า/ส่งออก, ค้าส่ง/ค้าปลีก 445,121
– บริการด้านที่พักและอาหาร 57,171
– บริการขนส่งและคมนาคม 148,084
– ข้อมูลสารสนเทศ 56,577
– การเงินและประกันภัย 304,688
– บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ วิชาชีพ และธุรกิจ 191,984
– บริหารงานภาครัฐ, บริการสังคม/บุคคล 305,123
– เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ 186,681
ภาษี 64,504

*ค่าสัมประสิทธิ์จีนี เป็นดัชนีชี้วัดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยนักสถิติชาวอิตาเลียนที่มีชื่อว่าคอร์ราโด จีนี ค่าสัมประสิทธิ์จีนีมีช่วงระหว่าง 0-1โดยค่าสัมประสิทธิ์ที่ต่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมในการกระจายรายได้ ทั้งนี้ สัมประสิทธิ์ที่มีค่าเกิน 0.4 แสดงให้เห็นว่ามีความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้รุนแรงมาก สถิติทางคุณภาพชีวิตประชาชน

  • รายได้เฉลี่ยของประชาชน 12,000 ดอลลาร์ฮ่องกง/เดือน
  • รายรับเฉลี่ยของแต่ละครัวเรือน 20,200 ดอลลาร์ฮ่องกง/เดือน
  • อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 12,300 ดอลลาร์ฮ่องกง/เดือน และค่าแรงต่อชั่วโมง 30 ดอลลาร์ฮ่องกง
  • อัตราการว่างงานร้อยละ 3.4
  • ค่าสัมประสิทธิ์จีนี* 0.475

ตัวเลขสถิติการค้า

การค้าภายในประเทศ

  • การค้าภายในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจของฮ่องกง โดยได้แรงหนุนจากอัตราการจ้างงานที่มีเสถียรภาพ
  • รกิจภาคการค้าปลีก (retail sector) เป็นตลาดแรงงานสำคัญของฮ่องกง โดยร้อยละ 9 ของแรงงานฮ่องกงอยู่ในภาคการค้าปลีก และภาคการค้าปลีกครองสัดส่วนร้อยละ 4 ของมูลค่า GDP
  • การอุปโภค/บริโภคของครัวเรือน (private consumption expenditure) เติบโตร้อยละ 4 ในขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐบาล (government consumption expenditure) เติบโตร้อยละ 3.7
  • ดัชนีราคาผู้บริโภคร้อยละ 4.1

การค้าระหว่างประเทศ

  • สินค้าส่งออก 5 อันดับแรกของฮ่องกง ได้แก่ ชิ้นส่วนเบ็ดเตล็ด เคมีภัณฑ์ วัตถุดิบ สินค้าอุปโภค/บริโภค เครื่องจักรและอุปกรณ์
  • สินค้านำเข้า 5 อันดับแรกของฮ่องกง ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ชิ้นส่วนเบ็ดเตล็ด สินค้าอุปโภค/บริโภค เคมีภัณฑ์ น้ำมันปิโตรเลียม

ตารางการค้าสินค้ากับต่างประเทศของฮ่องกง

2553

2554

2555

HK$ million Year-on year
change %
HK$ million Year-on year
change %
HK$ million Year-on year
change %
Imports of goods 3,364,840 +25% 3,764,596 +11.9 3,912,163 +3.9
Domestic exports 69,512 +20.4 65,662 -5.5 58,830 -10.4
Re-export 2,961,507 +22.8 3,271,592 +10.5 3,375,516 +3.2
Total exports 3,031,019 +22.8 3,337,253 +10.1 3,434,346 +2.9
Trade Balance -333,821 -427,343 -477,817

ตารางการค้าบริการกับต่างประเทศของฮ่องกง

2553

2554

2555

HK$ million Year-on year
change %
HK$ million Year-on year
change %
HK$ million Year-on year
change %
Imports of services 548,068 +15.5 579,196 +5.7 N/A N/A
Exports of services 626,170 +24.9 706,075 +12.8 N/A N/A
Net exports 78,102 126,879 N/A

  • บริการด้านการค้าและการคมนาคมครองสัดส่วนกว่าครึ่งของมูลค่าการส่งออกบริการทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทด้านการเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศของฮ่องกง
  • บริการด้านการท่องเที่ยวครองสัดส่วนสูงสุดของมูลค่าการนำเข้าบริการ สะท้อนให้เห็นว่า ภาคการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจฮ่องกง

ข้อมูลจาก Census and Statistics Department (www.censtad.gov.hk)

การค้ากับประเทศไทย
ตารางการค้าไทย-ฮ่องกง

2553

2554

2555

HK$ million Year-on year
change %
HK$ million Year-on year
change %
HK$ million Year-on year
change %
Imports fr om HK 1,817.41 +5.03 2,339.61 +28.73 1,731.47 -25.99
Exports to HK 11,248.93 +18.61 11,952.54 +6.25 13,097.10 +9.58
Total trade 13,066.34 +16.51 14,292.15 +9.38 14,828.57 +3.75
Trade balance 9,431.52 +21.64 9,612.93 +1.92 11,365.63 +18.23

ข้อมูลจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร

  • สินค้าส่งออกของไทยไปฮ่องกง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก
  • สินค้านำเข้าจากฮ่องกง 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินแร่ โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

ตัวเลขสถิติการลงทุน

การลงทุนของภาครัฐในพื้นที่

รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานประจำปี 2556-2557 จำนวน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้

  1. ครงการเส้นทางคมนาคม ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างทางรถไฟฟ้าเพิ่มจำนวน 5 สาย และโครงการสร้างถนนสายหลักเพิ่ม
  2. โครงการด้านสาธารณสุข จัดสรรงบประมาณจำนวน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกงในการก่อสร้าง/ปรับปรุงโรงพยาบาลของรัฐบาล
  3. โครงการด้านสิ่งแวดล้อม จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบกำจัดของเสียโดยไม่ใช้สารเคมี

การลงทุนระหว่างประเทศ

  • การลงทุนในต่างประเทศ ล่าสุดเมื่อสิ้นปี 2554 ฮ่องกงมีมูลค่าการลงทุนในต่างประเทศ (Outward Direct Investment) จำนวน 7.946 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 411 ของมูลค่า GDP เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 8.3 โดยเป็นการลงทุนในจีนร้อยละ 42.1 และในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินร้อยละ 41.8
  • การลงทุนของต่างชาติในพื้นที่ ล่าสุดเมื่อสิ้นปี 2554 ฮ่องกงมีมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติ (Inward Direct Investment) 8.377 ล้านล้านดอลลาร์ฮ่องกง คิดเป็นร้อยละ 433 ของมูลค่า GDP เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.9 โดยเป็นการลงทุนจากจีนร้อยละ 36.3 และจากหมู่เกาะบริติชเวอร์จินร้อยละ 31.1
  • มูลค่าการลงทุนระหว่างฮ่องกงและจีนสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจอันใกล้ชิดของสองพื้นที่ ส่วนมูลค่าการลงทุนระหว่างฮ่องกงและหมู่เกาะบริติชเวอร์จินเกิดจากการที่วิสาหกิจฮ่องกงนิยมไปจัดตั้งบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ (non-operating company) ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน เพื่อใช้เป็นช่องทางในการส่งเงินทุนกลับสู่ฮ่องกงหรือส่งต่อไปยังพื้นที่อื่น ๆ

ข้อมูลจาก Census and Statistics Department (www.censtad.gov.hk)

การลงทุนกับประเทศไทย

ในปี 2555 ฮ่องกงลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ 5 รวมมูลค่าการลงทุน 12,864 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะ และภาคการบริการ โดยนักลงทุนฮ่องกงเห็นว่า ไทยมีข้อได้เปรียบด้านทรัพยากรและแรงงานที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นประตู (Gateway) สู่อาเซียน ในขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่า ฮ่องกงเป็นฐานที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุนในจีนตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta-PRD) ที่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (การค้า การลงทุนและการบริการ) กับฮ่องกงภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจจีน-ฮ่องกง (Closer Economic Partnership Arrangement-CEPA)

ข้อมูลจาก Thailand Board of Investment (www.boi.go.th)

ตัวเลขสถิติภาคบริการ / การท่องเที่ยว

ภาพรวมการท่องเที่ยวของฮ่องกง

  • ในปี 2555 ฮ่องกงมีนักท่องเที่ยวจำนวน 48.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 จากปีก่อนหน้า โดยนักท่องเที่ยวร้อยละ 71.8 มาจากจีน ในขณะที่ร้อยละ 18 มาจากประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียเหนือและใต้ และร้อยละ 10 มาจากอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง
  • นักท่องเที่ยวจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ มีแนวโน้มลดลง

ภาพรวมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ฮ่องกง

  • ในปี 2555 นักท่องเที่ยวฮ่องกงเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยจำนวน 472,699 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (421,126 คน) ร้อยละ 12 และนักท่องเที่ยวไทยเดินทางมาท่องเที่ยวฮ่องกงจำนวน 501,759 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (480,497 คน) ร้อยละ 4

การแถลงนโยบายของผู้บริหารสูงสุดฮ่องกงประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 นาย John LEE Ka-chiu ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง (Chief Executive) ได้แถลงนโยบายประจำปี 2566 หัวข้อ “A Vibrant Economy for a Caring Community” ณ สภานิติบัญญัติฮ่องกง (Legislative Council – LegCo)  โดยสาระสำคัญของนโยบาย สรุปดังนี้

  • ยึดมั่นในหลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” และธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ
    • ออกและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคงที่คงค้างตามข้อ 23 ของ Basic Law ภายในปี 2567
    • พัฒนาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของฮ่องกง อาทิ พลังงาน โทรคมนาคม การคมนาคมขนส่ง และสถาบันการเงิน โดยจะเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อ LegCo ภายในปี 2567
    • ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติและการศึกษาที่ส่งเสริมการรักชาติ (patriotic education) ผ่านการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ และบูรณาการระบบการศึกษาของฮ่องกงเข้ากับระบบการศึกษาของชาติจีน
    • จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมจีน (Chinese Culture Promotion Office) ภายใต้หน่วยงาน Leisire and Cultural Services Department เพื่อจัดกิจกรรมและดำเนินโครงการความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมจีนและอัตลักษณ์ของชาติ
  • พัฒนาโครงสร้างระบบบริหารราชการ
    • กำหนดตัวชี้วัด ๑๕๐ รายการสำหรับการดำเนินภารกิจต่าง ๆ ของ รบ. ตามที่ปรากฏในนโยบายฯ โดยเป็นตัวชี้วัดใหม่ ๗๓ รายการ
    • เตรียมจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเขต (District Councils) ชุดใหม่ที่จะเข้ารับตำแหน่ง ในวันที่ 1 มกราคม 2567 ภายใต้ระบบการบริหารราชการเขตที่ปรับปรุงใหม่
    • จัดตั้งสำนักงานและคณะกรรมการด้านการระดมทุนโครงการเพื่อการพัฒนาขนาดใหญ่เพื่อให้คำแนะนำด้านการลงทุนและแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม
    • หารือร่วมกับ รบ. มณฑลกวางตุ้งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อลงทุนในโครงการที่สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมในเขต Greater Bay Area (GBA)
    • จัดตั้งสำนักงานนโยบายดิจิทัลเพื่อเร่งปรับการบริการต่าง ๆ ของรัฐให้เป็นระบบดิจิทัลและส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ
    • เสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather) ผ่านการเตรียมการรับมือล่วงหน้าอย่างมียุทธศาสตร์ และจัดทำแผน “GBA Emergency Response and Rescue Operational Plan” ร่วมกับเมืองอื่น ๆ ในเขต GBA เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและ
      การประสานงานเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • สร้างตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ที่แข็งแกร่ง
    • ดึงดูดธุรกิจและแรงงานศักยภาพสูง (talent)
      • พัฒนา “เศรษฐกิจสำนักงานใหญ่” (Headquarters Economy) เพื่อดึงดูดธุรกิจต่างชาติให้เข้าไปจัดตั้งสำนักงานใหญ่หรือส่วนงานทางธุรกิจในฮ่องกง และสนับสนุนธุรกิจต่าง ๆ ในการเข้าถึงตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ โดยพนักงานชาวต่างชาติของบริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตราแบบเข้า-ออกจีนได้หลายครั้ง อายุ ๒ ปีขึ้นไป รวมทั้งจะได้รับการพิจารณาแบบให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น
      • ดึงดูดและรักษาแรงงานศักยภาพสูง (talent) โดย (1) ขยายจำนวนมหาวิทยาลัยชั้นนำที่เข้าข่ายโครงการ Top Talent Pass Scheme จาก 100 เป็น 184 แห่ง (2) ผ่อนปรนเงื่อนไขการขอรับ การตรวจลงตราของผู้มีสัญชาติเวียดนาม สปป. ลาว และเนปาล (3) ริเริ่มโครงการ Capital Investment Entrant Scheme เพื่อให้นักลงทุนที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายและลงทุนในทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 30 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง สามารถสมัครเพื่อขอรับสิทธิในการพำนักในฮ่องกงได้ และ (4) จัดตั้งสำนักงาน Hong Kong Talent Engage และสถาบันฝึกอบรมแรงงานศักยภาพสูงด้านฎหมาย (Hong Kong International Legal Talents Training Academy) เพื่อพัฒนาฮ่องกงให้เป็นแหล่งบ่มเพาะแรงงานศักยภาพสูง (talent)
    • พัฒนาการเป็นศูนย์กลาง รปท. ๘ ด้าน ตามที่ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 ของ รบ. กลาง สปจ. อาทิ
      • การเงิน ส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดหลักทรัพย์ผ่านการปรับลดอัตราอากรแสตมป์สำหรับการทำธุรกรรมหลักทรัพย์จากร้อยละ 0.13 เหลือร้อยละ 0.1 ของราคาซื้อขาย และส่งเสริมการเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์ (Mutual Market Access) ข้ามพรมแดนระหว่างฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่ ขยายธุรกิจสกุลเงินหยวนนอกประเทศจีน (offshore Renminbi business) และความร่วมมือและการลงทุนภายในเขต GBA โดยเฉพาะในด้านการเงินสีเขียว
      • การค้า เร่งประชาสัมพันธ์โอกาสทางธุรกิจในฮ่องกงและขยายเครือข่ายทางเศรษฐกิจและการค้าของฮ่องกงใน ตปท. ผ่านสำนักงานของ InvestHK และ Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่และกระชับความร่วมมือกับตลาดอาเซียนและตะวันออกกลางเพื่อดึงดูดธุรกิจและการลงทุน รวมทั้งสนับสนุนธุรกิจ SMEs โดยให้ความยืดหยุ่นในการชำระหนี้ ให้ความช่วยเหลือ ในการปรับตัวสู่ e-commerce การเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ดิจิทัล และให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก
      • การคมนาคมขนส่ง ประกาศใช้แผนปฏิบัติการว่าด้วยการพัฒนาโลจิสติกส์สมัยใหม่ (Action Plan on Modern Logistics Development) เพื่อปรับภาคโลจิสติกส์ให้ทันสมัยและมีความยั่งยืน และประกาศใช้แผนปฏิบัติการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาการเดินเรือและท่าเรือ (Action Plan on Maritime and Port Development Strategy) เพื่อพัฒนาการบริการเดินเรือและส่งเสริมความร่วมมือ
        ด้านการเดินเรือภายในเขต GBA
      • นวัตกรรมและเทคโนโลยี จัดตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่
        (New Industrialisation Development Office) และกองทุน New Industrialisation Acceleration Scheme มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมที่ตรงตามยุทธศาสตร์ของฮ่องกง ยกระดับภาคการผลิตและสนับสนุนธุรกิจ start-ups รวมทั้งจัดตั้งสถาบัน Hong Kong Microelectronics Research and Development Institute เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในสาขา
        ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และเร่งจัดตั้งศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์
      • การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม จัดตั้งหน่วยงาน Cultural and Creative Industries Development Agency เพื่อส่งเสริมอุตสาหรรมทางศิลปวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพิ่มเงินทุนสนับสนุนในกองทุน Film Development Fund และ CreateSmart Initiative อีกจำนวน 4.3 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง และจัดตั้งกองทุน Signature Performing Arts Programme Scheme เพื่อส่งเสริมการจัด
        การแสดงขนาดใหญ่ที่จัดอย่างต่อเนื่องในฮ่องกง
    • บูรณาการเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติจีน ผ่านโครงการ Northern Metropolis โดยจะเร่งพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นเมืองสากลด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีบูรณาการร่วมกับเมืองเซินเจิ้นและเมืองอื่น ๆ ในเขต GBA
    • ฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว จัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฮ่องกง 2.0 (Development Blueprint for Hong Kong’s Tourism Industry 2.0) ให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๗ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวใหม่ ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ
    • ส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่
      • ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดเก็บ (bunkering) พลังงานสีเขียว อาทิ ก๊าซธรรมชาติเหลว กรีนเมทานอล ไฮโดรเจน และแอมโมเนีย เพื่อพัฒนาให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการจัดเก็บพลังงานสีเขียวที่มีคุณภาพสูง
      • พัฒนาให้ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเป็นท่าอากาศยานสีเขียวที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำและทนทานต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนทางสภาพภูมิอากาศ และกำหนดเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 รวมทั้งจัดทำมาตรการเพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานภาคการบินอย่างยั่งยืนของ
        สายการบินต่าง ๆ
      • จัดทำแผนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสีเขียวของเมืองฮ่องกงและกำหนดเป้าหมายให้ภาคการขนส่งสาธารณะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยจะจัดให้มีการบริการรถบัสพลังงานไฟฟ้าราว ๗๐๐ คัน และรถแท็กซี่พลังงานไฟฟ้าราว 3,000 คัน ภายในสิ้นปี 2570
  • แก้ไขปัญหาเรื่องที่พักอาศัยและที่ดิน
    • ก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยของรัฐจำนวน 4.1 แสนยูนิตภายในระยะ 10 ปี โดยในระยะ 4 ปีแรก  จะก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยของรัฐและอาคารที่พักอาศัยของรัฐแบบชั่วคราว (Light Public Housing – LPH) ให้แล้วเสร็จจำนวน 1.72 แสนยูนิต (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากจำนวนอาคารที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา)
    • จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับห้องพักย่อย (Subdivided Units – SDUs) ซึ่งมีภารกิจ ได้แก่ (1) กำหนดมาตรฐานสำหรับการอยู่อาศัยในห้องพักย่อย (2) กำจัดห้องพักย่อยที่ไม่ได้มาตรฐาน (3) ระงับการสร้างห้องพักย่อย และ (4) กำหนดวิธีและกระบวนการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับห้องพักย่อย
    • กระตุ้นอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ผ่านการปรับมาตรการเพื่อบริหารจัดการอุปสงค์ในอสังหาริมทรัพย์ที่พักอาศัย ประกอบด้วย (1) ปรับลดระยะเวลาการใช้บังคับอากรแสตมป์พิเศษ (Special Duty Stamp) จาก 3 ปีเป็น 2 ปี (2) ปรับลดอัตราอากรแสตมป์สำหรับผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักถาวรในฮ่องกง (non-permanent residents) และผู้ซื้อที่มีที่พักอาศัยหลายแห่งจากร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 7.5 และ (3) ปรับลดขั้นตอนเกี่ยวกับอากรแสตมป์ในการซื้อที่พักอาศัยสำหรับแรงงานผู้มีศักยภาพสูง (talent)
    • จัดหาที่ดินเพิ่มเติมโดยการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเก่าในย่าน Tsuen Wan, Sham Shui Po, Yau Ma Tei และ Mong Kok และริเริ่มกระบวนการสร้างเกาะเทียม Kau Yi Chau Artificial Islands ซึ่งมีขนาดพื้นที่ 1 พันเฮกตาร์
    • ประกาศแผนแม่บทการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งหลักของฮ่องกง (Hong Kong Major Transport Infrastructure Development Blueprint) โดยจะปรับปรุงเส้นทางรถไฟ 3 เส้นทาง และถนนสายหลัก 3 เส้นทาง และก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มอีก ๒ เส้นทาง และถนนสายหลักเพิ่มอีก 1 เส้นทาง
    • พัฒนาระบบขนส่งมวลชนแบบอัจฉริยะและเป็นมิตรต่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในย่าน East Kowloon, Kai Tak และ Hung Shui Kiu/Ha Tsuen
  • สร้างสังคมที่มีความสามัคคีปรองดองและมีเสถียรภาพ
    • ส่งเสริมการมีบุตร
      • ให้เงินสนับสนุนแก่ครอบครัวที่มีบุตรแรกเกิด จำนวน 2 หมื่นดอลลาร์ฮ่องกงต่อบุตรแรกเกิด 1 คน ให้สิทธิพิเศษในการได้รับจัดสรรที่พักอาศัยของรัฐ และขยายเพดานการลดหย่อนภาษีเกี่ยวกับที่พักอาศัยถึง 1.2 แสนดอลลาร์ฮ่องกงสำหรับครอบครัวที่มีบุตรแรกเกิด
      • สนับสนุนครอบครัววัยทำงานโดยเพิ่มจำนวนเงินสนับสนุนสำหรับครอบครัววัยทำงาน (Working Family Allowance) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เพิ่มจำนวนศูนย์เลี้ยงเด็กแรกเกิดอีก 10 แห่ง และเพิ่มจำนวนเงินสนับสนุนศูนย์เลี้ยงเด็กแรกเกิดเป็น 1 พันดอลลาร์ฮ่องกงต่อเดือน
    • ดูแลผู้สูงอายุ คนพิการและชุมชน
      • ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำผู้สูงอายุในฮ่องกงไปพักอาศัยในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเมืองต่าง ๆ ในเขต GBA
      • เพิ่มเงินสนับสนุนในกองทุน Innovation and Technology Fund for Application in Elderly and Rehabilitation Care จำนวน 1 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงเพื่อให้เงินสนับสนุนศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สนับสนุนการเช่า/ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและคนพิการ และลดความเครียดของผู้ดูแล
      • จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) ภายใต้กระทรวงพาณิชย์และการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจสูงวัย
      • จัดตั้งศูนย์ให้บริการสนับสนุนชนกลุ่มน้อยจำนวนอีก 2 แห่ง และคณะทำงาน Ethnic Minorities Care Teams เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพของชนกลุ่มน้อยในฮ่องกง
    • พัฒนาการเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศสำหรับการศึกษาในระดับหลังมัธยมปลายและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชน
      • เพิ่มสัดส่วนส่วนของนักศึกษาต่างชาติในสถาบันการศึกษาระดับหลังมัธยมปลายเป็นสูงสุดร้อยละ 40 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดและให้การสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติผ่านทุนการศึกษาเพื่อดึงดูดนักศึกษาจาก ตปท. และส่งเสริมความร่วมมือกับ ตปท.
      • พัฒนาเมืองมหาวิทยาลัยภายในพื้นที่โครงการ Northern Metropolis (Northern Metropolis University Town) และจัดตั้งเครือข่ายเยาวชนฮ่องกง Alliance of Hong Kong Youth Innovation and Entrepreneurial Bases ในเขต GBA เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างเยาวชนและสถาบันการศึกษาในเขต GBA
      • ส่งเสริมการศึกษา STEAM (Science, Technology, Engineering, the Arts and Mathematics) ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
      • จัดการประชุมสุดยอด Youth Development Summit เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนในฮ่องกง
    • ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี
      • ส่งเสริมอุตสาหกรรมยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ผ่านการจัดตั้งสำนักงานเตรียมการให้ฮ่องกงเป็นศูนย์ควบคุมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (Centre for Medical Products Regulation) และสถาบันการทดลองทางคลินิกระหว่างประเทศในเขต GBA (Greater Bay Area International Clinical Trial Institute) ที่ Hetao Shenzhen-Hong Kong Science and Technology Innovation Co-operation Zone
      • พัฒนาคุณภาพของการบริการทางการแพทย์ โดย (1) พัฒนาระบบฐานข้อมูลทางการแพทย์ eHealth+ เพื่ออำนวยความสะดวกการเข้าถึงข้อมูลประวัติทางการแพทย์ของ ปชช. (2) นำเข้าทันตแพทย์และพยาบาลจาก ตปท. และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเข้าผู้ช่วยแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ทางการแพทย์ (3) ลดเวลาการรอพบแพทย์สำหรับแผนกหู-คอ-จมูก และแผนกศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ร้อยละ 10 ภายในปี 2567-2568 และ (4) ริเริ่มโครงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน
      • พัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์แผนจีนในฮ่องกง ผ่านการจัดทําแผนปฏิบัติการพัฒนาการแพทย์แผนจีน (Chinese Medicine Development Blueprint) พัฒนาระบบฐานข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับการแพทย์แผนจีน และเตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลเฉพาะทางการแพทย์แผนจีนแห่งแรกในฮ่องกง

การแถลงการณ์งบประมาณประจำปี ค.ศ. 2013-2014

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2556 นาย John Tsang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฮ่องกงได้แถลงงบประมาณปี ค.ศ. 2013-2014 ต่อสภานิติบัญญัติฮ่องกง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

  • พัฒนาเศรษฐกิจและกระตุ้นการจ้างงาน โดยจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน รักษาสถานะความเป็นเมืองระดับนานาชาติของฮ่องกง และส่งเสริมอุตสาหกรรมหลักของฮ่องกง ดังนี้ (1) การค้าและโลจิสติกส์ (2) การท่องเที่ยว (3) บริการด้านการเงิน (4) บริการด้านธุรกิจและวิชาชีพ (5) อุตสาหกรรมเกิดใหม่ (emerging industries) และ(6) อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
  • ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ส่งเสริมความก้าวหน้าทางอาชีพ ส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะทาง และส่งเสริมโครงการอบรมทักษะแก่แรงงานทั่วไป
  • พัฒนาและลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน คาดว่าจะอัดฉีดงบประมาณจำนวน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกงสู่โครงการต่าง ๆ ดังนี้ (1) ด้านคมนาคม (2) ด้านการแพทย์ (3) ด้านกีฬา และ (4) ด้านสิ่งแวดล้อม
  • ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยการ (1) พัฒนาสวัสดิการสังคม (2) บรรเทาความยากจน (3) ส่งเสริมระบบกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ (4) ส่งเสริมบริการด้านการแพทย์ (5) ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ (6) ประกาศนโยบายช่วยเหลือประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • ปกครองภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2540
  • เป็นเมืองที่มีความเสรีทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก
  • มีระบบเศรษฐกิจที่เน้นภาคบริการ (service-oriented) มากที่สุดในโลก
  • เป็นศูนย์กลางทางการค้า เศรษฐกิจ และการเงินของภูมิภาคเอเชีย
  • เป็นเมืองที่เหมาะสมสำหรับการทำธุรกิจมากเป็นอันดับ 2 ของโลก (จัดอันดับโดย World Bank)
  • มีตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก (วัดจากปริมาณเงินทุนที่ระดมทุนได้)
  • เป็นเมืองท่าปลอดภาษี
  • เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเงินหยวนข้ามพรมแดน
  • มีนักท่องเที่ยวมากถึง 48.6 ล้านคน มากกว่าจำนวนประชากรท้องถิ่นเกือบ 7 เท่า
  • ได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ จากจีนภายใต้ข้อตกลง CEPA (Closer Economic Partnership Arrangement) และกรอบความร่วมมือ PPRD

โอกาสทางธุรกิจ

(กรุณาคลิกที่หัวข้อเพื่ออ่านรายละเอียด)

ข้อมูลจาก InvestHK (www.investhk.gov.hk)

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน