HENAN

มณฑลเหอหนาน

1. ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งและพื้นที่

มณฑลเหอหนาน มีที่ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางส่วนล่างของแม่น้ำเหลือง
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณแม่น้ำเหลืองตอนล่างจึงได้รับการขนานนามว่า “เหอหนาน” ซึ่งแปลเป็นภาษาจีนว่า “แม่น้ำทางตอนใต้”

มณฑลเหอหนานอยู่ทางตอนกลางของประเทศจีนค่อนไปทางทิศตะวันออก ติดกับมณฑลอันฮุย และมณฑลซานตง ทิศเหนือติดกับมณฑลเหอเป่ยและมณฑลซานซี ทิศใต้ติดกับมณฑลหูเป่ย มีที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นลองจิจูด 102 21’ ถึง 116 39’ องศาตะวันออก และละติจูด 31 23’ ถึง 36 24’ องศาเหนือ

พื้นที่ทางทิศตะวันตกของมณฑล มีพื้นที่สูงกว่าพื้นที่ทางทิศตะวันออก
ทิศตะวันออก เป็นพื้นที่ราบแอ่งกระทะ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้เป็นเทือกเขาสูง

ได้แก่ เทือกเขาไท่หัง เทือกเขาต้าเปี๋ย เทือกเขาถงป่ายและเทือกเขาฝูหนิว ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 – 2,000 เมตร ในจำนวนพื้นที่มณฑลทั้งหมด พื้นที่ที่เป็นภูเขาและที่ราบสูงมีสัดส่วนร้อยละ 44.3 ส่วนพื้นที่ราบมีสัดส่วนร้อยละ 55.7

มณฑลเหอหนานมีแม่น้ำสายหลักสำคัญ 4 สายไหลในแนวขนานจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำเหลือง แม่น้ำหวยเหอ แม่น้ำไห่เหอ และแม่น้ำฉางเจียง โดยมีแม่น้ำใหญ่น้อยทั้งหมด 1,500 สาย แม่น้ำเหลืองไหลผ่านตอนกลางของมณฑล ความยาวทั้งหมด 711 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 36,200 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งมณฑล

มณฑลเหอหนานมีพื้นที่ทั้งหมด 167,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.74 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของประเทศ ประกอบด้วยเมืองทั้งหมด 18 เมือง ได้แก่ เมืองเจิ้งโจว เมืองไคเฟิง เมืองอันหยาง เมืองซูฉาง เมืองซินเซียง เมืองผิงติ่งซาน เมืองซิ่นหยาง เมืองหนานหยาง เมืองลั่วหยาง เมืองซานฉิว เมืองเจียวจั้ว เมืองจูหม่าเตี้ยน เมืองเหอปี้ เมืองลั่วเหอ เมืองโจวโข่ว เมืองซานเหมินเสีย เมืองผู่หยาง และเมืองจี้หยวน

ทรัพยากรสำคัญ

มณฑลเหอหนานเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุทั้งหมด 126 ชนิด โดยแร่ธาตุที่มีการสำรวจพบปริมาณที่แน่นอนแล้วมีจำนวน 74 ชนิด ได้แก่ แร่โมลิบดินัม ( Molybdenum) (มณฑลเหอหนานมีเหมืองแร่โมลิบดินัมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก) แร่อะลูมินัมซิลิเกท แร่เพิร์ลไลท์ (Pearlite) แร่ด่างจำพวกคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต (Trona) แร่ทอง (มีปริมาณมากรองจากมณฑลซานตง) และแร่ไทเทเนียม นอกจากนี้ มณฑลเหอหนานยังเป็นแหล่งทรัพยากรถ่านหินที่สำคัญของประเทศ สามารถผลิตถ่านหินได้ 100 ล้านตันต่อปี หรือผลิตได้มากเป็นอันดับสองของประเทศ ซึ่งทำให้มณฑลเหอหนานเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าที่สำคัญของประเทศ

มณฑลเหอหนาน มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของสัตว์และพืช เป็นฐานการผลิตผลิตผลทางการเกษตรหลักของประเทศ โดยผลิตผลทางการเกษตร ที่ผลิตได้มากเป็นอันดับต้นของประเทศ ได้แก่ ข้าวสาลี ยาสูบ งา ถั่วลิสง ฝ้าย ปอกระเจา ข้าวโพด ถั่วเหลือง และแตงโม ส่วนผลิตผลประเภทผลไม้และผลไม้แห้งที่ผลิตได้มาก ได้แก่ ท้อ พลัม วอลนัท กีวี และพุทราแดง เป็นต้น

เนื่องจากมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน จึงทำให้มณฑลเหอหนานมีทรัพยากรน้ำมาก ทรัพยากรน้ำในมณฑลมีปริมาณทั้งหมด 43 ล้านลูกบาศ์กเมตร โดยทรัพยากรน้ำบนดินมีปริมาณ 12 ล้านลูกบาศก์เมตร ทรัพยากรน้ำใต้ดินมีปริมาณ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ ยังมีอ่างเก็บน้ำและเขื่อนกักน้ำจำนวน 2,394 แห่ง สามารถเก็บน้ำได้ปริมาณ 26.67 คิวบิคลูกบาศก์เมตร ในปี 2001 มณฑลเหอหนานได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำบริเวณแม่น้ำเหลืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศแล้วเสร็จภายใต้โครงการเก็บกักรักษาน้ำเสี่ยวหลางตี่ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเขื่อนตามโครงการนี้เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นทุกปีในมณฑล

ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรม

ในอดีตประเทศจีนได้ถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน มณฑลเหอหนาน เป็นศูนย์กลางของดินแดนทั้งหมด เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศอยู่ในส่วนกลางของประเทศจีน โดยมีกษัตริย์ปกครองมากกว่า 200 พระองค์ และราชวงศ์มากกว่า 20 ราชวงศ์ ได้ตั้งเมืองหลวง ที่มณฑลเหอหนาน

เมืองลั่วหยางเป็นเมืองหลวงเก่าใน 9 ราชวงศ์ และเมืองไคเฟิง เป็นเมืองหลวงเก่าใน 7 ราชวงศ์ ในสมัยราชวงศ์ซ่ง เมืองไคเฟิงนอกจากเป็นเมืองหลวง ศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมแล้ว ยังเป็นเมืองนานาชาติด้วย นอกจากเมืองไคเฟิงแล้ว เมืองอันหยางก็เคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์ชางและราชวงศ์หยิน

มณฑลเหอหนานมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่

  • โบราณสถานในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่หมู่บ้านซานหยางของอำเภอเน่ยหวง
  • วัดเส้าหลินที่อำเภอเติงเฟิงของเมืองเจิ้งโจว ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ. 495 ในสมัยของเซี่ยวเหวินตี้ฮ่องเต้ (ครองราชย์ ค.ศ. 471 – 499) แห่งราชวงศ์เว่ย
  • อนุสาวรีย์บรรจุศพในสมัยราชวงศ์โจว ( 770 – 256 ปีก่อน ค.ศ.)
  • วัดม้าขาวในเมืองลั่วหยาง ซึ่งสร้างสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 58 – 75)
  • ถ้ำหลงเหมินในเมืองลั่วหยาง ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จสมัยราชวงศ์ถัง โดยเมื่อเดือนพฤษจิกายน ปี ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลก

ข้อมูลประชากร

ประชากรที่อาศัยอยู่ในมณฑลเหอหนานประกอบด้วย 51 ชนชาติ ได้แก่ ชนชาติฮั่น ฮุย มองโกเลีย จ้วง ไบ่ เกาหลี และเหมียว โดยมีชนชาติฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ สถิติ ณ สิ้นปี 2559 ประชากรที่อาศัยอยู่ภายในมณฑลเหอหนานเป็นประจำมีจำนวน 107.88 ล้านคน

สภาพภูมิอากาศ

มณฑลเหอหนานมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนกึ่งอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 9.5 – 15.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 526.0 – 1,380.6 มิลลิลิตร มีฤดูกาล 4 ฤดูที่ชัดเจน

2. ข้อมูลด้านการปกครอง

การแบ่งพื้นที่เขตปกครอง

มณฑลเหอหนานประกอบด้วยเมืองทั้งหมด 18 เมือง ได้แก่ นครเจิ้งโจว ซึ่งเป็นเมืองหลวง เมืองคายฟง เมืองโล่วหยาง เมืองผิงติ่งซาน เมืองอานหยาง เมืองเฮ่อปี้ เมืองซินเซียง เมืองเจียวโจ่ว เมืองผูหยาง เมืองสุ่ยชาง เมืองโล่วเหอ เมืองซานเหมินเสีย เมืองซางชิว เมืองโจวโค่ว เมืองจู้หม่าเตี้ยน เมืองหนานหยาง เมืองซิ่นหยาง เมืองจี้หยวน

รูปแบบการปกครองของมณฑลเหอหนาน

หน่วยงานต่างๆ ของมณฑลเหอเป่ย

Agriculture Department Animal Husbandry Bureau
Audit Department Civil Affairs Department
Coal Industry Bureau Commerce Department
Commission of Science Technology and Industry for National Defence Communications Department
Construction Department Cultural Heritage Bureau
Culture Department Development and Reform Commission
Education Department Environmental Protection Bureau
Ethnic Affairs Commission Finance Department
Food and Drug Administration Forestry Department
Grain Bureau Health Department
Industry and Commerce Administration Information Industry Department
Justice Department Labour and Social Security Department
Land and Resources Department Legislative Affairs Office
Local Taxation Bureau Office of Foreign Affairs and Overseas Chinese Affairs
Personnel Department Population and Family Planning Commission
Press and Publication Bureau Prison Affairs Bureau
Provincial General Office Public Security Department
Quality and Technical Supervision Bureau Radio, Film and Television Bureau
Science and Technology Department Sport Bureau
State Security Department State-owned Assets Supervision and Administration Commission
Statistics Bureau Supervision Department
Tourism Bureau Township Enterprises Administration Bureau
Water Resources Department

ผู้บริหารฝ่ายการเมือง

นายเซี่ย ฝูจาน (Xie Fuzhan)

เลขาธิการพรรคฯ

นายเฉิน รุ่นเอ๋อ (Chen Runer)

ผู้ว่าการมณฑล

นายเซี่ย ฝูจาน (Xie Fuzhan)

ปธ.สภาผู้แทน ปชช.

นายเย่ ตงซง (Ye Dongsong)

ปธ.สภาที่ปรึกษาการเมือง

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาครัฐบาลมณฑลเหอหนานได้ที่ www.henan.gov.cn

เมืองสำคัญ/เขตพัฒนาเศรฐกิจ

เมืองสำคัญ

1. นครเจิ้งโจว

นครเจิ้งโจวเป็นเมืองเอกของมณฑลเหอหนาน มีพื้นที่ทั้งหมด 7,446.2 ตารางกิโลเมตร เขตเมืองมีพื้นที่ 1,013.3 ตารางกิโลเมตร เขตใจกลางเมืองมีพื้นที่ 147.7 ตารางกิโลเมตร

นครเจิ้งโจวเป็นเมืองอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ

  • อุตสาหกรรมอาหาร
  • อุตสาหกรรมเครื่องจักรเครื่องกล
  • อุตสาหกรรมการทำโลหะผสม
  • อุตสาหกรรมเคมี
  • อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง

นครเจิ้งโจวมีตลาดขายส่งสินค้าประเภทอาหารและธัญพืช ( The Zhengzhou Grain and Foodstuff Exchange) ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านการค้าขายส่ง รวมทั้งเป็นตลาดล่วงหน้าสำหรับสินค้าประเภทอาหารและธัญพืชของประเทศจีนด้วย ราคาสินค้าของตลาดแห่งนี้เป็นราคาหลักอ้างอิงของการซื้อขายสินค้าประเภทธัญพืชในประเทศจีนและทั่วโลก

ปัจจุบัน บริษัทไทยที่ดำเนินธุรกิจในมณฑลเหอหนาน ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งมีโรงงานหลายแห่งที่มณฑลเหอหนาน โดยมีการตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่เมืองเจิ้งโจว และโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ที่เมืองลั่วหยาง นอกจากนี้ ยังมีบริษัทบ้านปูได้ร่วมทุนกับบริษัทจีนและพัฒนาเหมืองถ่านหินที่เมืองเฮ่อปี้ มณฑลเหอหนาน

เขตพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ

1. เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเจิ้งโจว ( Zhengzhou Economic & Technology Development Zone )

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ มีพื้นที่ทั้งหมด 12.49 ตารางกิโลเมตร มีระยะห่างจากสนามบินนานาชาติซินเจิ้ง 22 กิโลเมตร ระยะห่างจากสถานีรถไฟหลงไห่ 3 กิโลเมตร ระยะห่างจากสถานีรถไฟเจิ้งโจวสายตะวันออก 1.5 กิโลเมตร ระยะห่างจากสถานีศูนย์กลางการขนส่งสินค้า 2.5 กิโลเมตร และระยะห่างจากใจกลางเมือง 7 กิโลเมตร

ปัจจุบัน มีการลงทุนจากต่างชาติ ได้แก่ LG จากประเทศเกาหลีใต้ Phillips จากประเทศเนเธอร์แลนด์ Nissan จากประเทศญี่ปุ่น MAN Nutzfahrzeuge AG จากประเทศเยอรมัน เป็นต้น และมีการลงทุนจากบริษัท TOP500 ในโลกทั้งหมด 36 บริษัท

เขตพัฒนาฯ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร อุตสาหกรรมยาชีวภาพ อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยียาจีน ธุรกิจโลจิสติกส์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า

2. เขตเศรษฐกิจจงหยวน (Central Plains Economic Region)

เป็นเขตเศรษฐกิจที่เน้นการเปิดกว้างต่อต่างประทศแห่งแรกในพื้นที่ตอนในของจีน ได้รับการอนุมัติการก่อตั้งในปี 2555 และได้รับการกำหนดเป็นกลยุทธิ์ระดับชาติ เขตเศรษฐกิจจงหยวนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของมณฑลเหอหนาน และพื้นที่บางส่วนของมณฑลซานซี มณฑลซานตง มณฑลเหอเป่ยและมณฑลอานฮุย มีพื้นที่ทั้งหมด 2.89 แสนตารางกิโลเมตร รัฐบาลกลางวางแผนให้พัฒนาเป็นเขตนำร่องในการเป็นฐานอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองของประเทศ และเป็นเขตการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคกลางของจีน

3. เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ชั้นสูงเจิ้งโจว (Zhengzhou High & New Technology Industrial Development Zone )

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14001) สร้างขึ้นในปี 2531 มีพื้นที่ทั้งหมด 18.6 ตารางกิโลเมตร มีระยะห่างจากใจกลางนครเจิ้งโจวประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของสถาบันสำคัญของมณฑลหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยเจิ้งโจว สถาบันวิศวกรรมเจิ้งโจว สถาบันวิจัยยาสูบ สถาบันวิจัยอุตสาหกรรมถ่านหินเหอหนาน และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ อุตสาหกรรมที่เน้นการพัฒนาในเขตนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมซอฟแวร์ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยาชีวภาพ อุตสาหกรรม New Materials และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแสงและเครื่องกลไฟฟ้าจุลภาค

4. เขตแปรรูปเพื่อการส่งออกเจิ้งโจว (Zhengzhou Export Processing Area)

เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติ ตั้งอยู่ภายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเจิ้งโจว (Zhengzhou Economic & Technology Development Zone) มีพื้นที่ทั้งหมด 2.7 ตารางกิโลเมตร เป็นเขตที่อยู่ภายใต้การดูแลของศุลากากร เป็นเขตที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี การกู้ยืมเงิน และค่าขนส่ง

การคมนาคมและโลจิสติกส์

เส้นทางขนส่งทางบก

ณ สิ้นปี 2559 เส้นทางรถไฟของมณฑลเหอหนานมีความยาวรวม 5,466 กิโลเมตร และทางด่วนมีความยาวรวม 6,448 กิโลเมตร ในนครเจิ้งโจว นอกจากมีเส้นทางหลวง 1 ใน 7 สายสำคัญของประเทศ ยังมีเส้นทางหลวงสาย 107 และ 310 ทางด่วนจิงจูและเหลียนหัว รวมทั้งเส้นทางหลวงภายในมณฑลอีก 18 เส้นทาง ทำให้การคมนาคมขนส่งทั้งภายในและระหว่างมณฑลมีความสะดวก

มณฑลเหอหนานเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟในภาคกลางจีน และเป็นจุดเชื่อมต่อกับมณฑลอื่น ๆ โดยเส้นทางรถไฟที่สำคัญ 10 เส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟสายปักกิ่ง หลงไห่ เจียวจือ จิงจิ่ว ไท่เจียว และโห้วเย่ว์ เป็นต้น

มีสถานีเจิ้งโจวเหนือเป็นสถานีบังคับการ (สถานีการจัดระบบเส้นทาง ) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีการเข้าออกของขบวนรถไฟโดยเฉลี่ย 500 ขบวนต่อวัน สถานีขนส่งทางรถไฟในนครเจิ้งโจวเป็นหนึ่งในสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทางที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียที่เชื่อมต่อระหว่างยุโรปและเอเชียตะวันออก โดยเป็นสถานีขนส่งปลายทางตะวันออกที่เชื่อมระหว่างท่าเรือเหลียนอวิ๋นของมณฑลเจียงซูกับท่าเรือรอทเทอร์ดัมของประเทศเนเธอร์แลนด์

เส้นทางขนส่งทางอากาศ

มณฑลเหอหนานมีสนามบิน 3 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติซินเจิ้ง (อยู่ในเจิ้งโจว) สนามบินลั่วหยาง และสนามบินหนานหยาง มีเที่ยวบินไปกลับมากกว่า 800 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ระหว่างเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่ 46 เมือง ในประเทศ โดยมีเส้นทางการบิน 70 เส้นทาง และมีเส้นทางการบินระหว่างประเทศไปเมืองต่าง ๆ ได้แก่ มอสโก กรุงเทพฯ ลอสแองเจลลิส แฟรงค์เฟิร์ต ฮ่องกง และมาเก๊า เป็นต้น ปัจจุบัน บริษัทสายการบิน Thai Smile ได้เปิดเส้นทางบินตรงระหว่างนครเจิ้งโจวกับ

เศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมณฑล

1) แผนงาน/เป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีน ฉบับที่ 13 (ค.ศ. 2016 – 2020)

  • GDP เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ร้อยละ 8
  • เร่งดำเนินแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจโจงหยวนเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาจของมณฑลเหอหนาน
  • เร่งส่งเสริมการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ กระตุ้นให้มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมภาคที่ 3 (ภาคบริการ) ครองสัดส่วนร้อยละ 45 ของ GDP เหอหนาน
  • พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น พัฒนาระบบสวัสดิการให้สมบูรณ์ และรักษาอัตราการว่างงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ควบคุมการปล่อยมลพิษให้ไม่เกินปริมาณที่รัฐบางกลางจีนกำหนด

2) แผนงาน/เป้าหมายประจำปี ค.ศ. 2017

  • GDP เติบโตร้อยละ 7.5 ขึ้นไป โดยเน้นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและมีนวัตกรรม
  • รักษาดัชนีราคาผู้บริโภคให้ไม่เกินร้อยละ 3
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรเติบโตร้อยละ 12
  • รักษามูลค่าการค้าระหว่างประเทศให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ
  • มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโตร้อยละ 11
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเติบโตร้อยละ 7.5
  • เพิ่มการจ้างงานใหม่จำนวนไม่ต่ำกว่า 1.1 ล้านอัตรา
  • อัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
  • รายได้สาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5

ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจ

  • มีปริมาณสำรองแร่ Molybdenum เป็นอันดับ 1 ของจีน และเป็นแหล่งวัตถุดิบพลังงานที่สำคัญของจีน
  • GDP ของมณฑลเหอหนานครองอันดับ 1 ในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศโดยสูงเป็นอันดับ 5 ของจีน
  • เป็นฐานการผลิตรถเครน มีปริมาณการผลิตสูงเป็นอันดับ 1 ของจีน
  • เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรหลักของประเทศที่มีผลิตผลทางการเกษตรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ
  • มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากมณฑลกวางตุ้งและมณฑลซานตง

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

รัฐบาลเหอหนานให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศลงทุนในอุตสาหกรรม ดังนี้

  • เกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยพัฒนาโซ่อุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
  • การผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ระดับสูง เช่น อุปกรณ์การขุดถ่านหินและน้ำมันปิโตรเลียม เครื่องจักรทางการเกษตร เป็นต้น
  • ธุรกิจบริการสมัยใหม่ เน้นพัฒนาธุรกิจการประกัน ธุรกิจโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมวัฒนธรรม และธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น
  • ธุรกิจการแปรรูปเครื่องอิเล็คทรอนิกส์ ดึงดูดบริษัทการผลิตทางการแปรรูปขนาดใหญ่ย้ายมาที่มณฑลเหอหนาน

ตัวเลขสถิติทางเศรษฐกิจ

กลับหน้าหลัก

BACK TO TOP

กลับขึ้นด้านบน